อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
หน้า หนาวนี้ใคร ๆ ก็ต้องเตรียมตัวไปรับอากาศสุดชื่นบนยอดดอย ที่ไหนสักที่ เพราะหน้าหนาวทั้งที ทุกคนย่อมอยากสัมผัสอากาศเย็นเป็นธรรมดา หลังจากที่ทนกับอากาศอันร้อนจากสภาพอากาศแปรปรวนมาเกือบทั้งปี และหนึ่งในที่สุดฮอตของเมืองไทยที่ทุกคนจะต้องไปสัมผัสอากาศหนาวคงจะหนีไม่ พ้น อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ใครที่คิดกำลังจะเดินทางท่องเที่ยวไปสัมผัสอากาศหนาวที่นี้ ลองมาทำความรู้จักกับ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ แห่งนี้กับเราก่อนได้เลยค่ะ!!
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เดิมเป็นส่วนหนึ่งของ "ป่าสงวนแห่งชาติดอยอินทนนท์"
ต่อ มาได้ถูกสำรวจและจัดตั้งเป็นหนึ่งในสิบสี่ ป่าที่ทางรัฐบาลให้ดำเนินการเป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งครั้งแรกกรมป่าไม้เสนอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดพื้นที่อุทยานแห่ง ชาติดอยอินทนนท์ให้มีพื้นที่ 1,000 ตร.กม. หรือประมาณ 625,000 ไร่ แต่เนื่องจากพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ อาศัยอยู่ก่อนหลายชุมชน จึงทำการสำรวจใหม่ และกันพื้นที่ที่ราษฎร อยู่มาก่อน และคาดว่าจะมีปัญหาในอนาคตออก จึงเหลือพื้นที่ที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ 270 ตร.กม. หรือประมาณ 168,750 ไร่ ประกาศลงวันที่ 2 ตุลาคม 2515 และในวันที่ 13 มิถุนายน 2521 รัฐบาลประกาศพื้นที่เพิ่มอีกเป็น 482.4 ตร.กม. อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และกิ่งอำเภอดอยหล่อ มีความสูงจากระดับน้ำทะลปานกลาง 400-2,565.3341 เมตร เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย สำหรับวัตถุประสงค์ในการกำหนดที่ดินให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 หมวด 1 มาตรา 6 ดังนี้
"เมื่อ รัฐบาลเห็นสมควรกำหนดบริเวณที่ดินแห่งใดมีสภาพธรรมชาติเป็นที่น่าสนใจ ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมเพื่อสงวนไว้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและ รื่นรมย์ของประชาชน ก็ให้มีอำนาจกระทำโดยประกาศพระราชกฤษฎีกาด้วยบริเวณที่กำหนดนี้เรียกว่า อุทยานแห่งชาติ"
หน้า หนาวนี้ใคร ๆ ก็ต้องเตรียมตัวไปรับอากาศสุดชื่นบนยอดดอย ที่ไหนสักที่ เพราะหน้าหนาวทั้งที ทุกคนย่อมอยากสัมผัสอากาศเย็นเป็นธรรมดา หลังจากที่ทนกับอากาศอันร้อนจากสภาพอากาศแปรปรวนมาเกือบทั้งปี และหนึ่งในที่สุดฮอตของเมืองไทยที่ทุกคนจะต้องไปสัมผัสอากาศหนาวคงจะหนีไม่ พ้น อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ใครที่คิดกำลังจะเดินทางท่องเที่ยวไปสัมผัสอากาศหนาวที่นี้ ลองมาทำความรู้จักกับ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ แห่งนี้กับเราก่อนได้เลยค่ะ!!
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เดิมเป็นส่วนหนึ่งของ "ป่าสงวนแห่งชาติดอยอินทนนท์"
ต่อ มาได้ถูกสำรวจและจัดตั้งเป็นหนึ่งในสิบสี่ ป่าที่ทางรัฐบาลให้ดำเนินการเป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งครั้งแรกกรมป่าไม้เสนอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดพื้นที่อุทยานแห่ง ชาติดอยอินทนนท์ให้มีพื้นที่ 1,000 ตร.กม. หรือประมาณ 625,000 ไร่ แต่เนื่องจากพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ อาศัยอยู่ก่อนหลายชุมชน จึงทำการสำรวจใหม่ และกันพื้นที่ที่ราษฎร อยู่มาก่อน และคาดว่าจะมีปัญหาในอนาคตออก จึงเหลือพื้นที่ที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ 270 ตร.กม. หรือประมาณ 168,750 ไร่ ประกาศลงวันที่ 2 ตุลาคม 2515 และในวันที่ 13 มิถุนายน 2521 รัฐบาลประกาศพื้นที่เพิ่มอีกเป็น 482.4 ตร.กม. อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และกิ่งอำเภอดอยหล่อ มีความสูงจากระดับน้ำทะลปานกลาง 400-2,565.3341 เมตร เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย สำหรับวัตถุประสงค์ในการกำหนดที่ดินให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 หมวด 1 มาตรา 6 ดังนี้
"เมื่อ รัฐบาลเห็นสมควรกำหนดบริเวณที่ดินแห่งใดมีสภาพธรรมชาติเป็นที่น่าสนใจ ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมเพื่อสงวนไว้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและ รื่นรมย์ของประชาชน ก็ให้มีอำนาจกระทำโดยประกาศพระราชกฤษฎีกาด้วยบริเวณที่กำหนดนี้เรียกว่า อุทยานแห่งชาติ"
เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูงถึง 2,565 เมตรอากาศจึงหนาวเย็นตลอดปีความชื้นสูงมากโดยเฉพาะบนดอย
แม้นำฟืนมาก่อไฟก็จะติดไฟได้ยาก ในฤดู หนาวอุณหภูมิจะลดต่ำกว่าศูนย์องศาเซลเซียสทุกปี ในฤดูร้อนแม้ว่าอากาศในตัวเมืองเชียงใหม่หรืออำเภอใกล้เคียงจะร้อน แต่บนยอดดอยอินทนนท์ยังมีอากาศหนาวเย็นอยู่จะต้องสวมเสื้อกันหนาว ฉะนั้นผู้ที่จะไปเที่ยวดอยอินทนนท์ควรจัดเตรียมเสื้อหนา ๆ ติดตัวไปด้วย
ป่าไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์มีหลายชนิด คือ ป่าดิบเขา ป่าสน ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ มีพันธุ์ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจดังนี้ คือ สัก ตะเคียน สนเขา เต็ง เหียง มะเกลือ แดง ประดู่ รกฟ้า มะค่า เก็ดแดง จำปีป่า ตะแบก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีดอกไม้ป่าที่สวยงามหลายชนิด เช่น ฟ้ามุ่ย ช้างแดง รองเท้านารี และกุหลาบป่า สำหรับมอส ข้าวตอกฤาษี ออสมันด้า มีอยู่ทั่วไปในระดับสูง
สัตว์ป่าในบริเวณอุทยานแห่งชาติที่นี้มีจำนวนลดลงไปมาก เนื่องจากถูกชาวเขาเผ่าต่างๆ ล่าเป็นอาหาร และป่าซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยถูกแผ้วถางลงมาก ทำให้ สัตว์ใหญ่บางชนิดหมดไปจากป่านี้ ปัจจุบันสัตว์ที่หลงเหลืออยู่บ้าง ได้แก่ เลียงผา กวางผา กวาง เสือ หมูป่า หมี ชะนี กระต่ายป่า และ ไก่ป่า
การจองที่พักและบริการ
1. สามารถจองด้วยตนเองทางอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์ของกรม www.dnp.go.th หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ให้ทำการจองให้ทางโทรศัพท์ หรือเดินทางมาติดต่อด้วยตนเอง กรมไม่มีตัวแทนการจองที่พักกับภาคเอกชนรายใดทั้งสิ้น
2. ผู้ที่ทำารจองก่อนจะได้รับสิทธิ์ก่อน ไม่ว่าจะเป็นการจองโดยเจ้าหน้าที่ หรือจองด้วยตนเอง เพราะเป็นฐานข้อมูลการจองเดียวกัน
3. สามารถจองล่วงหน้าได้ 60 วัน และจองต่อเนื่องได้ครั้งละ 3 วัน
4. ในกรณีที่ผู้จองทำการจองด้วยตนเองทางเว็บไซต์ของกรม โดยไม่กรอกรายละเอียดการจองให้ครบถ้วน เช่น ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ โทรศัพท์ เป็นต้น ซึ่งเชื่อ
ได้ว่าไม่มีความประสงค์ที่จะใช้บริการจริง กรมสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการจองนั้นๆ ทันทีที่ตรวจพบ
การเดินทางไปอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
จากตัวเมืองเชียงใหม่ สามารถ เดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ได้ 3 เส้นทางคือ
เส้นทางที่ 1 จากจังหวัดเชียงใหม่เดินทางโดยใช้เส้นทางถนนสายเชียงใหม่-ฮอด (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108) ผ่านอำเภอ หางดงและอำเภอสันป่าตอง ไปยังอำเภอจอมทอง ก่อนถึงอำเภอจอมทองประมาณ 2 กิโลเมตร เลี้ยวขวาตามถนนสายจอมทอง- อินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009) จะเริ่มเข้าเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ที่กิโลเมตรที่ 8 (น้ำตกแม่กลาง) และ ตัดขึ้นสู่ยอดดอยอินทนนท์เป็นระยะทางทั้งหมด 49.8 กม. ... ดูแผนที่เส้นทางที่ 1 (สีเหลือง)
เส้นทางที่ 2 จากจังหวัดเชียงใหม่เดินทางตามเส้นทางถนนสานเชียงใหม่-ฮอด (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108) ผ่านอำเภอหางดง อำเภอสันป่าตอง อำเภอจอมทองและอำเภอฮอด จากอำเภอฮอดเดินทางต่อโดยใช้เส้นทางสายฮอด-แม่สะเรียง ฮอด (ทางหลวง แผ่นดินหมายเลข 108) ผ่านอุทยานแห่งชา ติออบหลวง แล้วเลี้ยวขวาต่อไปยังอำเภอแม่แจ่มโดยเส้นทางสาย ออบหลวง-แม่แจ่ม (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1088) จากอำเภอแม่แจ่มใช้เส้นทางสายแม่แจ่ม-ดอยอินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1192) ขึ้นสู่ยอดดอยอินทนนท์ ที่ถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009 กิโลเมตรที่ 38-39) ... ดูแผนที่เส้นทางที่ 2 (สีเขียว)
เส้นทางที่ 3 ซึ่งเป็นเส้นทางสู่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ที่ค่อนข้างจะลำบาก โดยทางจากจังหวัดเชียงใหม่ตามเส้นทางถนนสาย เชียงใหม่-ฮอด (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108) ผ่านอำเภอหางดง และอำเภอสันป่าตอง จากอำเภอสันป่าตอง เลี้ยวขวา ตามถนน สายสันป่าตอง - บ้านกาด-แม่วิน (ทางหลวง จังหวัดหมายเลข 1013) แล้วต่อด้วยเส้นทาง ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1284 หรือ เส้นทาง ร.พ.ช. ผ่านบ้านขุนวาง และขึ้นสู่ถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009) ที่กิโลเมตรที่ 31 ใกล้ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ... ดูแผนที่เส้นทางที่ 3 (สีน้ำเงิน)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น