- ประโยชน์ของผักบุ้ง

ประโยชน์ของผักบุ้ง ผักทอดยอด

Ipomoea aguatica ถิ่นกำเนิดและสารเคมีที่พบรักษาและใช้ทำอะไรได้บ้าง

ประโยชน์ของผักบุ้ง
สมุนไพร-ผักบุ้ง
ประโยชน์ของผักบุ้งและสรรพคุณมีมากจริง ๆ นะ ใคร ๆ ก็ชอบพูดว่ากินผักบุ้งแล้วจะทำให้ตาหวานไม่ใช่กินผักบุ้งเพราะว่าเต่านะอย่า เข้าใจผิด อิอิอิ คุณพ่อบ้านแม่บ้านมักจะรู้จักกับเจ้าผักบุ้งเป็นอย่างดีเพราะนอกจากจะหาซื้อ ได้ง่ายทั่วไปแล้วยังมีตลอดทั้งปีแถมยังไม่ค่อยแพง วันนี้เราจึงนำคุณ ๆ มารู้จักกับ ประโยชน์ของผักบุ้ง และ ผักบุ้งสรรพคุณ ให้มากขึ้น เพื่อว่าใครที่ยังไม่เคยกินผักบุ้งหรือยังไม่ชอบกินผักบุ้ง เมื่อได้รู้ ประโยชน์ของผักบุ้ง แล้วเชื่อว่าจะหันมารับประทานผักบุ้งกันซะยกใหญ่เลย อีกหนึ่งก็คือ สรรพคุณของผักบุ้ง ยังจัดว่าเป็นอีกหนึ่งสมุนไพรที่ช่วยรักษาโรคได้อีกด้วยนะ ว่าแล้วก็มาดูประโยชน์ของผักบุ้งและสรรพคุณกันเลยดีกว่าค่ะ

ผักบุ้ง (ผักสมุนไพร) เป็นไม้ที่ปลูกได้ในดินทุกชนิดขึ้นได้ในที่แห้งแล้ง แต่หากมีน้ำมากก็จะทำให้ลำต้นเจริญงอกงามดี เป็นพืชที่ขยายพันธุ์ง่าย และรวดเร็วปลูกโดยการแยกกิ่งแก่ไปปักชำ ผังบุ้งยังมีประโยชน์ต่อร่างกายอีกมากมาย ไม่ว่าจะนำมาปรุงเป็นอาหาร หรือนำมาเป็นสมุนไพรรักษาโรคต่างๆ ได้อีกด้วย

- ลักษณะ : ผักบุ้งเป็นไม้น้ำและเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเลื้อยทอดไปตามน้ำหรือในที่ลุ่มที่มีความชื้นหรือดินแฉะๆ ลำต้นกลวงสีเขียวมีข้อปล้อง และมีรากออกตามข้อได้เป็นใบเดี่ยวออกแบบสลับ เช่น รูปไข่รูปไข่แถบขอบขนานรูปหอก รูปหัวลูกศรขอบใบเรียบ หรือมีควั่นเล็กน้อยปลายปลายใบแหลม หรือมนฐานใบเว้าป็นรูปหัวใจใบยาว3-15ซม.กว้าง1-9ซม. ดอกเป็นรูประฆังออกที่ซอกใบแต่ละช่อมีดอกย่อย1-5ดอก กลีบเรียงสีเขียวกลีบดอกมีทั้งสีขาว สีม่วงแดง สีชมพูม่วงกลีบดอกจะติดกันเป็นรูปกรวยมีสีขาวอยู่ด้านบน และมีสีม่วงหรือสีชมพูอยู่ที่ฐานเกสรตัวผู้มี 5 อันยาวไม่เท่ากันผลเป็นแบบแคปซูลรูปไข่ หรือกลมสีน้ำตาลมีเมล็ดกลมสีดำ

- รสและประโยชน์ต่อสุขภาพ
: รสจืดเย็นช่วยขับพิษถอนพิษเบื่อเมาผักบุ้งขาว 100 กรัมให้พลังงานต่อร่างกาย 22 กิโลแคลอรี่ประกอบด้วยเส้นใย101กรัมแคลเซียม3มิลลิกรัมฟอสฟอรัส22มิลลิกรัม เหล็ก3มิลลิกรัมวิตามินเอ11447IU วิตามินบีหนึ่ง 0.06 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง0.17มิลลิกรัมไนอาซิน1.3มิลลิกรัมวิตามินซี 14 มิลลิกรัม

- ประโยชน์ทางอาหาร : ส่วนที่เป็นผัก/ฤดูกาลยอดอ่อนใบอ่อนของผักบุ้งเป็นผักได้ และผักบุ้งเป็นพืชออกยอดตลอดปี และมีมากในช่วงฤดูฝนการปรุงอาหาร คนไทยทุกภาครับประทานผักบุ้งมีการปลูก และการจำหน่ายในท้องตลาดอย่างแพร่หลายในทุกฤดูกาลผักบุ้ง เป็นผักที่ปรุงเป็นอาหารได้หลายชนิด นับตั้งแต่รับประทานยอดอ่อนเป็นผักสด หรืออาจนึ่ง ลวกและราดกะทิแกล้มกับน้ำพริกรับประทานเป็นผักสดกับส้มตำลบก้อยยำ และนำยอดอ่อนและใบอ่อนไปปรุงเป็นอาหาร เช่น ผัดจืดใส่หมูปลาไก่ หรือผัดกับน้ำพริก และหมูนอกจากนี้ยังนำไปแกง เช่น แกงส้มแกงคั่วเป็นต้น นอกจากนี้ผักบุ้งสามารถนำไปดอง และนำไปปรุงเป็นข้าวผัดคลุกน้ำพริกผักบุ้งดอง หรือนำไปเป็นผักแกล้มน้ำพริกเป็นต้น 

- สรรพคุณทางยา : ผักบุ้งรสเย็นสรรพคุณถอนพิษเบื่อเมา รากผักบุ้งรสจืดเฝื่อนสรรพคุณถอนพิษผิดสำแดง ผักบุ้งขาว หรือผักบุ้งจีน ช่วยให้เจริญอาหาร เป็นยาถอนพิษ บำรุงธาตุ สรรพคุณของผักบุ้ง โดยเฉพาะผักบุ้งแดง คนที่ชอบเป็นตาต้อ ตาแดง หรือคันนัยน์ตาบ่อย ๆ ตลอดจนมีอาการตาฟ่าฟาง จำพวกคนสายตาสั้น จะทำให้สายตาที่แจ่มใส บำรุงสายตา ทำให้ไม่เป็นโรคกระเพาะ ฯ

ตำรับยา
1. แก้เลือดกำเดาออกไม่หยุด ใช้ต้นนี้หลายต้น ตำผสมน้ำตาลชงน้ำร้อนกิน

2. แก้โรคหนองใน ปัสสาวะเป็นเลือด อุจจาระเป็นเลือด ใช้ต้นสด ล้างให้สะอาดตำคั้นเอาน้ำผสมน้ำผึ้งพอประมาณกิน

3. แก้แผลริดสีดวงทวาร ใช้ต้นสดหนัก 1 กิโลกรัม น้ำ 1 ลิตร ต้มให้เละเอากากทิ้งใส่น้ำตาลทรายขาว 120 กรัม เคี่ยวให้ข้นเหนียวเหมือนน้ำเชื่อม กินครั้งละ 90 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ถ้าไม่หายก็กินอีก

4. แก้แผลบวมแดง เอาต้นสดตำผสมน้ำผึ้งพอก

5. แก้ผิวหนังเป็นแผลมีน้ำเหลือง ใช้ต้นสด ต้มน้ำให้เดือดนานๆ ทิ้งไว้พออุ่น เอาน้ำมาชะล้างบาดแผล วันละครั้ง

6. แก้แผลงูกัด ใช้ต้นสดล้างสะอาด ตำคั้นเอาน้ำประมาณครึ่งถ้วยผสมเหล้ากิน เอากากพอก

7. แก้พิษตะขาบกัด ใช้ต้นสดใส่เกลือนิดหน่อย ตำพอกแผล

8. แก้อาหารเป็นพิษ ใช้ผักบุ้งสด 250 กรัม กับบังบกสด 250 กรัม ตำคั้นเอาน้ำกิน ทำให้อาเจียน

9. ฟันเป็นรูปวด ใช้รากผักบุ้ง 120 กรัม ผสมน้ำส้มสายชูคั้นเอาน้ำมาอมบ้วนปาก
ผักบุ้ง : ผักพื้นบ้านยอดนิยมตลอดกาล

“น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง”

ข้อความที่ยกมาข้างต้นนี้ เป็นสำนวนไทยที่ใช้กันมาแต่ครั้งโบราณ มีความหมายเปรียบเทียบถึงคำพูด(หรือข้อเขียน)ที่มีปริมาณคำพูด(หรือตัว หนังสือ)มากมาย แต่มีเนื้อหาสาระน้อยนิดเดียว ปัจจุบันสำนวนนี้มักใช้กันสั้นๆว่า “น้ำท่วมทุ่ง” ทำให้คนไทยรุ่นใหม่หลายคนไม่ทราบถึงที่มาของสำนวนนี้ว่า มีความเกี่ยวข้องกับสภาพภูมิประเทศ ฤดูกาล และผักพื้นบ้านยอดนิยมของชาวไทยอย่างไร

ในอดีตบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางของไทยช่วงปลายฤดูฝนต่อถึงฤดูหนาว (ปลายฝน ต้นหนาว) จะมีน้ำหลากจากภาคเหนือมาท่วมท้องทุ่งนาเป็นปกติทุกปี น้ำจะท่วมอยู่นาน 3-4 เดือน ก็ค่อยๆแห้งลงไป ช่วงนี้เองตรงกับตอนแรกของสำนวนที่ว่า “น้ำท่วมทุ่ง” และเมื่อน้ำท่วมพื้นดินในท้องทุ่งก็จะเกิดพืชหลายชนิดที่เหมาะกับสภาพน้ำ ท่วมขึ้นงอกงามในท้องทุ่งร่วมกับต้นข้าวที่ชาวนาเพาะปลูกเอาไว้
ในบรรดาพืชที่ขึ้นในน้ำตามธรรมชาตินี้มีผักบุ้งซึ่งเป็นผักยอดนิยมของชาว บ้านขึ้นรวมอยู่ด้วย แทบทุกวันชาวบ้านมักพาย(หรือถ่อ)เรือออกไปในทุ่งเพื่อเก็บผักต่างๆมาประกอบ อาหาร ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือผักบุ้งนั่นเอง ดังนั้นชาวไทยในอดีตจึงเลือกผักบุ้งมาใช้ในสำนวน “น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง”
ปัจจุบันโอกาสที่จะเกิด “น้ำท่วมทุ่ง” จริงๆนั้นยากมาก เพราะมีการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่กั้นแม่น้ำในภาคเหนือเอาไว้หลายเขื่อน (และกำลังจะสร้างเพิ่มอีกเรื่อยๆ) คงต้องรอให้เกิดภาวะผิดปกติที่เรียกว่า “อุทกภัย” ในภาคเหนือเสียก่อนนั่นแหละจึงจะเกิดน้ำท่วมทุ่งภาคกลางขึ้นได้ นอกจากนั้นเกษตรกร(รวมทั้งชาวนา)ยังฉีดพ่นสารเคมีกำจัดวัชพืชกันมากขึ้น ทุกที ทำให้ผักบุ้งแทบจะสูญหายไปจากท้องทุ่งอยู่แล้ว อนาคตลูกหลานชาวไทยคงไม่มีโอกาสเห็น “น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง” อันเป็นที่เกิดของสำนวนนี้เป็นแน่

ผักบุ้ง : ผักของบุ้ง?
เชื่อว่าชาวไทยส่วนใหญ่รู้จักผักบุ้งดีกว่าผักชนิดอื่นๆ แต่หากถามว่าทำไมจึงมีชื่อว่าผัก “บุ้ง” หลายคนคงนึกไม่ออก นอกจากนั้นหลายคนคงไม่รู้จัก “บุ้ง” ด้วย เพราะคนไทยปัจจุบัน(โดยเฉพาะคนในเมือง)มีไม่มากนักที่มีโอกาสรู้จักและพบ เห็น “บุ้ง” ซึ่งเป็นตัวหนอนผีเสื้อชนิดหนึ่ง มีขนยาวเป็นอาวุธป้องกันตัว ในหนังสืออักขราภิธานศรับท์(พ.ศ.2516) อธิบายว่า “บุ้ง : เป็นชื่อสัตว์ตัวเล็กอย่างหนึ่ง ตัวมันเท่าด้ามปากกา(ขนไก่) สั้นสักนิ้วเศษๆ ตัวเป็นขน คนถูกมันเข้าให้บวมแลคันนัก”
บุ้งก็เช่นเดียวกับหนอนผีเสื้ออื่นๆ คือกินยอดอ่อนและใบไม้เป็นอาหาร สำหรับบุ้งคงจะชอบใบผักบุ้งเป็นพิเศษ ชาวบ้านคงพบบุ้งที่ผักบุ้งมากกว่าที่อื่น จึงตั้งชื่อผักชนิดนี้ว่า “ผักบุ้ง” ไปด้วย
หนังสืออักขราภิธานศรับท์อธิบายผักบุ้งเอาไว้ว่า “เป็นต้นผักเกิดในน้ำแลในที่ลุ่มๆ ไม่มีน้ำบ้าง เขาเก็บเอามาต้มแกงแลดองกินกับข้าวนั้น”

ผักบุ้งนับว่าเป็นพืชที่ปรับตัวเข้ากับสภาพน้ำได้ดีมาก จนได้ชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Ipomoea aquatica Forsk. จะเห็นว่าชื่อชนิด(species)คือ aquatica หมายถึงน้ำหรือชอบขึ้นในน้ำนั่นเอง ชื่อสามัญในภาษาอังกฤษคือ Water cabbage(หรือผักกาดน้ำ) ก็เน้นเกี่ยวกับน้ำเช่นเดียวกัน

ผักบุ้งเป็นพืชจำพวกเถาเลื้อย ลำต้นกลมเป็นปล้อง ข้างในกลวงคล้ายลำไผ่ ปล้องที่กลวงนี้ช่วยให้ผักบุ้งลอยอยู่ในน้ำได้ดี ใบและยอดแตกออกตามข้อ(รวมทั้งราก) ก้านใบยาวกลวง ใบลักษณะคล้ายหัวลูกศร ดอกบานเป็นปากแตร กลีบดอกสีม่วงหรือขาว(ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์) ผลกลมขนาดเล็ก ในลำต้นและก้านใบมียางสีขาว ผักบุ้งมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในเขตร้อนน้ำท่วมขังของทวีปเอเชีย ซึ่งรวมทั้งประเทศไทยด้วย ชาวไทยจึงรู้จักคุ้นเคยกับผักบุ้งมาแต่โบราณกาล

บริเวณที่ราบลุ่มซึ่งไม่แห้งแล้งเกินไปจะพบผักบุ้งขึ้นตามธรรมชาติอยู่ ทั่วไป ชาวชนบทที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำลำคลอง นิยมนำผักบุ้งมามัดเป็นแพลอยอยู่ในแม่น้ำลำคลองบริเวณชายตลิ่ง เพื่อเอาไว้เก็บมาบริโภคโดยไม่ต้องไปเก็บไกลบ้าน แพผักบุ้งช่วยป้องกันคลื่นจากเรือที่ผ่านไปมามิให้กระแทกเซาะดินที่ตลิ่งอีก ด้วย นอกจากนั้นบริเวณใต้แพผักบุ้งยังมีสัตว์น้ำหลายชนิดชอบมาอาศัย เช่น ปลา กุ้ง หอย เจ้าของผักบุ้งสามารถจับมาเป็นอาหารได้ตลอดปี

ผักบุ้งในประเทศไทยแบ่งเป็น 2 สายพันธุ์ คือ ผักบุ้งไทยและผักบุ้งจีน ผักบุ้งไทยคือผักบุ้งสายพันธุ์ธรรมชาติที่ขึ้นเองหรือชาวบ้านนำมามัดเป็นแพ ลอยอยู่ตามแม่น้ำลำคลอง ผักบุ้งไทยลำต้นมีสีเข้ม เขียวอมม่วง ทนทานแข็งแรง มียางมากกว่าพันธุ์ผักบุ้งจีน
ผักบุ้งจีนเป็นพันธุ์ที่นำมาจากต่างประเทศ ปัจจุบันผลิตเมล็ดได้เองในประเทศไทย นิยมปลูกเป็นการค้า ลำต้นค่อนข้างขาว ใบสีเขียวอ่อน ดอกสีขาว มียางน้อยกว่าผักบุ้งพันธุ์ไทย เกษตรกรปลูกผักบุ้งพันธุ์จีนขายเป็นส่วนใหญ่

ผักยอดนิยม : เพียบพร้อมด้วยรสชาติและคุณค่า
ชาวไทยรู้จักนำผักบุ้งมาประกอบอาหารตั้งแต่โบราณกาล นับได้ว่าเป็นผักสำหรับคนทุกระดับชั้น ตั้งแต่เศรษฐีไปจนถึงยาจก เพราะเก็บเอาเองได้โดยไม่ต้องซื้อหา
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีมีบันทึกในพงศาวดารว่า ครั้งหนึ่งมีการเก็บภาษีผักบุ้งจากราษฎรทำให้เกิดความเดือดร้อนไปทั่ว จนมีผู้ร้องเรียนพระเจ้าแผ่นดิน ในที่สุดภาษีผักบุ้งก็ถูกยกเลิกไป การที่มีบันทึกในพงศาวดารเช่นนี้แสดงว่าผักบุ้งมีความสำคัญต่อชีวิตของคนใน สมัยนั้นมาก ยากจะหาผักชนิดใดเปรียบเทียบได้ แม้ในปัจจุบันความสำคัญของผักบุ้งก็มิได้ลดลงแต่อย่างใด

คนไทยใช้ผักบุ้งประกอบอาหารได้หลายชนิด ตั้งแต่กินสดๆ กับน้ำพริก ปลาร้า ส้มตำ ฯลฯ หรือต้มให้สุก ดองเป็นผักดองก็ได้ นำไปแกง เช่น แกงส้ม แกงเทโพ ฯลฯ ก็ดี แต่ตำรับอาหารจากผักบุ้งที่นับว่ายอดนิยมและรู้จักดีที่สุดเห็นจะได้แก่ ผัดผักบุ้งไฟแดงที่มีไฟลุกท่วมกระทะนั่นเอง ยิ่งกว่านั้นร้านอาหารบางแห่งยังคิดค้นวิธีเสิร์ฟผักบุ้งไฟแดงด้วยวิธีพิเศษ เรียกว่า “ลอยฟ้า” โดยเหวี่ยงจากกระทะลอยไปหาจาน (ซึ่งมีคนคอยรับ) ห่างออกไปนับสิบเมตรจนมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก

นอกจากรสชาติแล้วผักบุ้งยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูงอีกด้วย เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม และฟอสฟอรัส มีสูงกว่าผักชนิดอื่นๆ ทั้งยังมีวิตามินเอและซีมากด้วย คนไทยเชื่อว่าผักบุ้งช่วยบำรุงสายตา(กินผักบุ้งแล้วตาหวาน)น่าจะเป็นความ จริง เพราะผักบุ้งมีวิตามินเอและคาโรทีนอยด์ซึ่งเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้อยู่สูง

ประโยชน์ด้านอื่นๆของผักบุ้ง
ผักบุ้งใช้เลี้ยงสัตว์ได้ดี เช่น หมู เป็ด ไก่ กระต่าย และปลา เป็นต้น นอกจากนี้ผักบุ้งยังมีคุณสมบัติด้านสมุนไพรหลายประการ เช่น
น้ำคั้นจากลำต้น(สด) : ทำให้อาเจียน ถอนพิษเบื่อเมาต่างๆ เช่นสารหนู ฝิ่น และพิษงู เป็นต้น
ต้น : ต้มกับเกลือ อมแก้เหงือกบวม(รำมะนาด)
ต้นและใบ : ต้มเอาน้ำดื่มเป็นยาระบาย
ต้น : ต้มกับน้ำตาล ดื่มแก้ริดสีดวงทวาร และตำสดๆ พอกรักษาริดสีดวงทวาร
ใบ : รสจืดเย็น กินแก้ตาฟาง บำรุงประสาทตา
ดอกตูม : รักษากลากเกลื้อน

ผักบุ้งเป็นผักพื้นบ้านที่ปลูกง่ายที่สุดอย่างหนึ่ง ปลูกได้ทั้งในน้ำ บนดิน และในกระถาง ปลูกครั้งเดียวเก็บได้นานเพราะตัดยอดแล้วงอกใหม่ได้อีกหลายครั้ง โรคแมลงน้อย เมล็ดหาได้ง่าย จึงเป็นผักที่น่าปลูกเอาไว้ในบ้านเรือนเป็นอย่างยิ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น