- กาแฟ (coffee)**

โดย : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
     กาแฟ (coffee) คอกาแฟทั้งหลายคงจะเคยผ่านหูผ่านตาคำว่า “คาเฟอีน” กันมาแล้วมากบ้างน้อยบ้าง แต่อาจไม่ได้สนใจกันจริงจังนัก คาเฟอีนนั้นออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท ทำให้รู้สึกตื่นเต้น บางคนดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนผสมอยู่
     อย่างชาหรือกาแฟอาจจะทำให้นอนไม่หลับ แต่บางคนก็หลับได้สบาย การรู้สึกมีเรี่ยวแรงขึ้นมานั้นก็ไม่ใช่ฤทธิ์ของคาเฟอีนโดยตรง แต่เป็นการเอากำลังสำรองมาใช้ ซึ่งเมื่อถึงคราวที่เราต้องอาศัยกำลังสำรองจริงๆ แล้วก็จะไม่มีเหลือ ทำให้ภูมิต้านทานต่ำ ล้มป่วยง่าย และหายยาก หรืออาจจะไม่หายเลยก็ได้
     นักดื่มทั้งหลายที่ติดคาเฟอีนแล้ว แต่ไม่มีอาการถอนยาปรากฏชัดเจนนัก เป็นเพราะมักจะดื่มถ้วยต่อถ้วยไปเรื่อยๆ ก่อนที่ยาจะหมดฤทธิ์ลง จึงยังไม่เห็นอาการขาดคาเฟอีน คาเฟอีนไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาความรู้สึกเหนื่อย และเพลียของร่างกายเลย การพักผ่อนเท่านั้นที่จะช่วยได้แต่คาเฟอีนจะเป็นตัวกระตุ้นสมองให้เราตื่น ความอ่อนเพลียจึงยังคงอยู่
กาแฟเป็นเครื่องดื่มกระตุ้นยอดนิยมของโลก ชาวอเมริกัน 4 ใน 5 คนเป็นคอกาแฟ และดื่มกาแฟรวมกันแล้วมากกว่า 400 ล้านถ้วยต่อวัน ขณะที่การบริโภคกาแฟในประเทศแถบสแกนดิเนเวียมีปริมาณมากกว่า 12 กิโลกรัม ต่อคน ด้วยจำนวนประชากรมากกว่า 25 ล้านคนที่ทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมนี้ กาแฟจึงเป็นสินค้าที่มีมูลค่าอันดับสองในตลาดการค้าโลก เป็นรองก็แต่อุตสาหกรรมน้ำมันเท่านั้นน
คาเฟอีนคืออะไร
คาเฟอีน (caffeine) เป็นสารชนิดหนึ่งที่รู้จักกันมานาน เป็นสารประกอบอัลคาลอยด์ มีชื่อทางเคมีว่า 1,3,7 trimethylxanthine มีลักษณะเป็นสีขาว ไม่มีกลิ่น มีรสขม ละลายได้ดีในน้ำร้อน ละลาย ได้เล็กน้อยในแอลกอฮอล์ คาเฟอีนพบปริมาณมากในพืชจำพวกชา และกาแฟ ซึ่งเมื่อนำมาผลิตเป็นเครื่องดื่มชาและกาแฟ ก็มีผู้นิยมบริโภคเป็นจำนวนมาก บ้างก็นิยมในรสชาติที่หอมละมุน บ้างก็ติดใจกลิ่นที่เย้ายวนชวนชิม ปัจจุบันสินค้าประเภทชา และกาแฟมีให้เลือกมากมายหลายชนิด และมีการทำไร่ผลิตเมล็ดกาแฟหลายแห่งด้วยกัน เป็นอุตสาหกรรมชั้นนำประเภทหนึ่ง
ความเป็นมาของคาเฟอีน
  1. มีเรื่องเล่ากันว่า ในแถบกลุ่มประเทศอาหรับเมื่อนานมาแล้วมีคนเลี้ยงแกะคนหนึ่ง สังเกตเห็นแกะของเขามีอาการกระโดดโลดเต้นคึกคะนองทั้งคืน ไม่ยอมนอนหลังจากที่ได้ไปกินเมล็ดกาแฟเข้า และเมื่อนักบวชคนหนึ่งทราบข่าวนี้ก็ไปขอเมล็ดกาแฟมาต้มกินแก้ง่วง เพราะต้องประกอบพิธีอธิษฐานในโบสถ์ตลอดคืน ทำให้กาแฟเป็นที่นิยมตั้งแต่นั้นมา
  2. ในประเทศจีนก็มีตำนานเล่าว่า ขณะที่จักรพรรดิพระองค์หนึ่งทรงพักผ่อนอยู่ใต้ต้นไม้ และบริวารของพระองค์กำลังต้มน้ำอยู่ ก็บังเอิญมีใบชาหล่นลงไปในหม้อน้ำ เมื่อจักรพรรดิดื่มแล้วก็รู้สึกติดใจจึงทรงดื่มชาเป็นประจำ ชาจึงเป็นที่นิยมของชาวจีนทุกคน ตลอดจนชาติต่างๆ ร่วมครึ่งโลกทีเดียว
  3. แม้จะเชื่อกันว่าในดินแดนใกล้ ทะเลแดงนั้นมีการปลูกกาแฟมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 7 แต่นักเขียนชาวอาหรับในศตวรรษที่ 15 นามเชฮาเบ็ดดิน เบน ได้เขียนไว้ว่า ชาวเอธิโอเปียนั้นดื่มกาแฟกันมาเนิ่นนานเกินเกินกว่าที่ใครๆ จะจดจำได้ เมื่อมาถึงศตวรรษที่ 16 ก็พบว่ามีการปลูกกาแฟกันทั่วภูมิภาคเยเมนในแหลมอาระเบียแล้ว
  4. หลังจากที่เอกอัครราชทูตชาว ตุรกีนำกาแฟเข้ามาในพระราชสำนักของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เมื่อ ค.ศ. 1669 ชาวยุโรปก็ยอมรับรสชาติของกาแฟอย่างรวดเร็ว ในราวสองสามปีต่อมาชาวดัชต์ได้นำกาแฟเข้าไปในชวา และใน ค.ศ. 1714 ชาวฝรั่งเศสชื่อเดส์คลิเออได้ปลูกต้นกาแฟด้วยกิ่งปักชำเพียงกิ่งเดียวบนเกาะ มาร์ตินิก ในไม่ช้าการปลูกกาแฟก็ได้แพร่จากแคว้นกีอาน่าของฝรั่งเศสไปยังบราซิล และอเมริกากลาง
  5. ถึงวันนี้ ในพื้นที่ชุ่มชื้นทั่วโลกล้วนแต่มีผู้ปลูกกาแฟทั้งสิ้น
การดื่มชา
  1. ชานั้นมีสารชนิดหนึ่งชื่อเทนนิน ซึ่งเป็นตัวทำลายวิตามินบีหนึ่งในอาหารได้ จึงไม่ควรดื่มน้ำชาร่วมกับอาหาร ถ้าใครอดไม่ได้ ก็ควรดื่มชาหลังอาหารแล้วสัก 1 ชั่วโมง เพื่อรอให้วิตามินบีหนึ่งได้ดูดชับไปก่อน คนที่ขาดวิตามินบี 1 นั้น จะทำให้เป็นโรคเหน็บชา มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปวดแสบ เสียวในขาและขาไม่มีแรง อารมณ์เสียและหงุดหงิดง่าย
  2. การดื่มชามากๆ จะทำให้ท้องผูก แพทย์จึงมักแนะนำให้ดื่มน้ำชาคนไข้มีอาการท้องร่วงหรือท้องเดิน แต่ไม่ใช่ดื่มเป็นเครื่องดื่มประจำวัน
  3. การดื่มชาขณะกินอาหาร จะทำให้การดูดซับของธาตุเหล็กน้อยลงถึงร้อยละ 87 ส่วน ดื่มกาแฟกับอาหารจะลดลงร้อยละ 39 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่เป็นโรคโลหิตจาง ควรหลีกเลี่ยงการดื่มชาและกาแฟ
การเปลี่ยนแปลงในร่างกาย
  1. เมื่อบริโภคเครื่องดื่มที่มีคา เฟอีน คาเฟอีนจะถูกดูดซึมผ่านระบบทางเดินอาหารได้ดี โดยเฉพาะในลำไส้เล็ก เพราะในลำไส้เล็กมีพื้นที่ของการดูดซึมมาก และสามารถดูดซึมได้อย่างรวดเร็วกว่าส่วนอื่นๆ จากการศึกษาวิจัยพบว่า คาเฟอีนถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง แต่ถ้าได้รับคาเฟอีนเข้าไปในขณะท้องว่างหรือกำลังหิว ร่างกายจะดูดซึมคาเฟอีนเข้าไปในเลือดได้เร็วขึ้น คือ ใช้เวลาไม่เกิน 30 นาที
  2. เมื่อคาเฟอีนถูกดูดซึมเข้าไปใน ร่างกายแล้ว จะกระจายอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างรวดเร็ว คาเฟอีนเข้าไปสู่ทุกอวัยวะในร่างกาย และยังสามารถผ่านเข้าสู่รกไปยังทารก หรือเข้าไปในน้ำนมแม่ได้
  3. ปริมาณการกระจายของคาเฟอีนใน ร่างกายมีค่าประมาณร้อยละ 40-60 ของน้ำหนักตัว และสามารถพบได้ในสารน้ำทุกส่วนของร่างกาย เช่น น้ำลาย น้ำนม และน้ำตา คาเฟอีนในร่างกายจะถูกกำจัดอย่างรวดเร็วโดยเอ็นซัยม์ของตับ ซึ่งเผาผลาญคาเฟอีนในร่างกายได้ถึงร้อยละ 95 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 5 จะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ
  4. คาเฟอีนไม่ถูกเก็บสะสมไว้ในร่าง กาย
กลไกการเสพติดของคาเฟอีน
เกิดจากฤทธิ์กระตุ้นสมอง กลไกดังกล่าวเช่นเดียวกับยาบ้า (amphetamines) โคเคน (cocaine) และเฮโรอีน (heroin) หากนำมาเปรียบเทียบกัน พบว่าคาเฟอีนมีฤทธิ์เสพติดน้อยกว่ายาบ้า โคเคน และเฮโรอีนมาก ผู้ที่ติดคาเฟอีนจะมีอาการของการเสพติด รู้สึกไม่ค่อยสบาย ไม่มีเรี่ยวมีแรง หากไม่ได้รับหรือบริโภคเข้าไป และมีความต้องการที่จะเสพอีกอย่างมาก การบริโภคคาเฟอีนในปริมาณน้อยจะทำให้รู้สึกมีความตื่นตัว ความคิดฉับไว ไม่ง่วงนอน กระปรี้กระเปร่า รู้สึกมีพลัง ทำงานได้ทนทานและนานยิ่งขึ้น ขนาดของคาเฟอีนที่เริ่มมีฤทธิ์ในการกระตุ้นสมองคือ 40 มิลลิกรัมขึ้นไป
เครื่องดื่มชูกำลัง
ปัจจุบันในวงการธุรกิจ มักจะเรียกเครื่องดื่มผสมคาเฟอีนว่า "เครื่องดื่มชูกำลัง" แสดงให้เห็นภาพของการเสริมสร้างพละกำลัง เป้าหมายการขายหลักๆ ก็คือ กลุ่มนักเรียน และนักศึกษา ที่นิยมดื่มกาแฟเป็นเครื่องช่วยให้ดูหนังสืออ่านหนังสือได้ดึกๆ ไม่ให้ง่วงพลอยหลับไปเสียก่อน อดตาหลับขับตานอน และกลุ่มผู้ที่มีอาชีพขับรถ ก็นิยมบริโภคเพื่อไม่ให้ง่วง และมีเรี่ยวมีแรง สามารถทำงานได้มากๆ แม้ว่าจะรู้สึกอ่อนเพลียเหนื่อยล้าและง่วงนอนสักเพียงใด
ประโยชน์ของคาเฟอีน
  1. แพทย์อาจจะใช้กับเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนดและหยุด หายใจแล้วกว่า 20 วินาที เพื่อช่วยกระตุ้นให้ฟื้น ซึ่งได้ผลไม่แน่นอน
  2. ใช้ในห้องทดลองเกี่ยวกับการกระตุ้นระบบประสาท
  3. ผสมกับยาเออร์กอทในการรักษาไม เกรน
  4. นานๆ ครั้งแพทย์จะใช้กับคนไข้ที่ถูกยาพิษบางชนิดที่ไปกดระบบประสาท ทำให้คนไข้ง่วงซึมและหายใจไม่ค่อยได้
ทำไมดื่มกาแฟแล้วถึงไม่ง่วง
  1. คาเฟอีนมีลักษณะทางเคมีที่สำคัญ ประการหนึ่ง คล้ายกับสารที่ชื่ออะดีโนซีน (adenosine) และเข้าไปจับกับตัวรับตัวเดียวกัน เป็นที่ทราบกันดีว่าสารอะดีโนซีนเป็นสารเคมีที่สร้างขึ้นในสมอง มีฤทธิ์ทำให้รู้สึกง่วงนอน ดังนั้นเมื่อบริโภคเครื่องดื่มประเภทชา และกาแฟ หรือเครื่องดื่มผสมคาเฟอีนเข้าไป สมองจะเข้าใจว่าเป็นอะดีโนซีน เนื่องจากตัวรับของอะดีโนซีนทำปฏิกิริยาจับกับคาเฟอีน กลไกดังกล่าวทำให้สมองขาดสารที่ทำให้รู้สึกง่วงนอน ร่างกายจึงรู้สึกไม่ง่วง และรู้สึกกระปรี้กระเปร่า มีกำลังวังชายิ่งขึ้น
  2. แต่คาเฟอีนในขนาดสูงจะทำให้นอน ไม่หลับ ลดระยะเวลาหลับ และหลับไม่สนิท มือสั่น เกิดอาการวิตกกังวล คาเฟอีนในขนาดที่เป็นโทษแก่ร่างกายอาจทำให้ผู้บริโภคเกิดอาการชักได้
  3. คาเฟอีนอาจไปเสริมฤทธิ์ของยา ระงับปวด เช่น แอสไพริน พาราเซตามอล และยังเสริมฤทธิ์ยาระงับอาการปวดศีรษะชนิดไมเกรนได้ ทำให้อาการปวดทุเลาลง
คาเฟอีนกระตุ้นการหลั่งอะดรีนาลีนและโดปามีน
  1. ฤทธิ์กระตุ้นการหลั่ง อะดรีนาลีน (adrenaline) ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ใจสั่น ความดันโลหิตสูง ตับเร่งผลิตน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด กล้ามเนื้อตึงตัวพร้อมทำงาน ทำให้เหมือนเป็นยาชูกำลัง การบริโภคคาเฟอีนมีผลทำให้หัวใจเต้นช้าลงเล็กน้อยในชั่วโมงแรก และกลับเต้นเร็วขึ้นเล็กน้อยในชั่วโมงที่ 2 และ 3 ความดันโลหิตจะเพิ่มประมาณ 5-10 มิลลิเมตรปรอท และเพิ่มขึ้นนานประมาณ 2-3 ชั่วโมงแล้วอาการดังกล่าวจะหายไป
  2. ส่วนฤทธิ์กระตุ้นการ หลั่งโดปามีน (dopamine) ทำให้รู้สึกผ่อนคลายสบายใจ สุขลึกๆ เชื่อว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเสพติดคาเฟอีน ทั้งฤทธิ์กระตุ้นการกลั่งสารอะดรีนาลีน และโดปามีน มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
  3. คาเฟอีนไม่มีผลต่อการ เพิ่มโคเลสเตอรอลในกระแสเลือด แต่การดื่มกาแฟสามารถทำให้ระดับของโคเลสเตอรอลสูงขึ้นได้ เนื่องจากในเมล็ดกาแฟมีไขมันอยู่หลายชนิด ซึ่งไขมันดังกล่าวจะถูกส่งเข้าสู่ร่างกายได้มาก ถ้าผู้บริโภคกาแฟใช้วิธีต้มกาแฟคั่วบดโดยไม่ผ่านการกรองกากออก ผู้บริโภคก็จะได้รับไขมันจากกาแฟนั้น ไม่ว่าจะเป็นชนิดมีคาเฟอีนหรือไม่มีคาเฟอีนก็ตาม
  4. คาเฟอีนยังเป็นสารที่ กระตุ้นให้มีการหลั่งกรด และน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร เพิ่มขึ้นได้ ผู้ ที่เป็นโรคแผลในกระเพาะ หรือลำไส้ควรหลีกเลี่ยงการ ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน แม้ว่าคาเฟอีนไม่ได้เป็นสาเหตุโดยตรงของโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ แต่ถ้าบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเข้าไป ในขณะที่มีแผลในกระเพาะอาหารอยู่ อาการโรคกระเพาะจะรุนแรงมากขึ้น
ปริมาณสารคาเฟอีนในอาหารและเครื่องดื่ม ประจำวัน
  1. พืชที่มีคาเฟอีนได้แก่ เมล็ดกาแฟ ใบชา โกโก้ พบว่ากาแฟหนึ่งถ้วยมีปริมาณสารคาเฟอีนประมาณ 200 มิลลิกรัม ชาหนึ่งถ้วยมีปริมาณสารคาเฟอีนประมาณ 150 มิลลิกรัม
  2. คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าคาเฟอี นมีอยู่เฉพาะในชา และกาแฟเท่านั้น แต่ความเป็นจริงแล้วคาเฟอีนยังเป็นส่วนผสมสำคัญในน้ำอัดลมที่ผลิตจากเมล็ดโค ล่า รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารหรือขนมที่ใช้ ชา กาแฟ โกโก้ และโคล่าเป็นส่วนผสมอยู่ ก็จะมีสารคาเฟอีนรวมอยู่ด้วย เช่น ลูกอมรสกาแฟ ลูกอมรสช็อกโกเลต เค้กช็อกโกเล็ต เค้กกาแฟ น้ำอัดลมโคล่า รูทเบียร์ และเครื่องดื่มชูกำลังต่างๆ
  3. สำหรับคาเฟอีนที่ผสมลงไปใน เครื่องดื่มหรือน้ำอัดลม ส่วนใหญ่จะมีปริมาณคาเฟอีนประมาณ 50-100 มิลลิกรัม อย่างไรก็ตามพบว่าในเครื่องผสมคาเฟอีนบางชนิดมีปริมาณสารคาเฟอีนมากถึง 200 มิลลิกรัมต่อหน่วยบรรจุ
  4. การบริโภคคาเฟอีนในปริมาณสูง เกินไปอาจจะเกิดพิษขึ้นได้ คาเฟอีนในปริมาณครั้งละ 200-500 มิลลิกรัม อาจทำให้ปวดศีรษะ เกิดภาวะเครียด กระวนกระวาย มือสั่น และประสิทธิภาพการทำงานลดลง
  5. คาเฟอีนประมาณ 1,000 มิลลิกรัม อาจทำให้ผู้บริโภคมีไข้สูง วิตกกังวล กระสับกระส่าย พูดตะกุกตะกัก ควบคุมตัวเองไม่ได้ ซึมเศร้า นอนไม่หลับ หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะบ่อย
  6. ขนาดของคาเฟอีนที่อาจทำให้เสีย ชีวิตได้ ประมาณ 100 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมในเด็กเล็ก หรือประมาณ 3,000 มิลลิกรัมในเด็กโต 5,000-10,000 มิลลิกรัมในผู้ใหญ่ตามลำดับ
กาแฟที่ไม่มีคาเฟอีน (decaffeinated coffee)
  1. กาแฟที่ไม่มีคาเฟอีนได้มาจากการ กำจัดคาเฟอีนออกไปจากกาแฟ ซึ่งทำได้หลายวิธี วิธีที่ใช้กันมากมี 3 วิธี คือ การละลายเอาคาเฟอีนออกจากกาแฟด้วยน้ำ ตัวทำละลาย อินทรีย์หรือคาร์บอนไดออกไซด์ การ ละลายคาเฟอีนออกด้วยน้ำ จะใช้เมล็ดกาแฟสดสีเขียว ก่อนการคั่วโดยล้างเมล็ดกาแฟด้วยน้ำ และคาเฟอีนที่ละลายอยู่ในน้ำจะถูกแยกออกด้วยถ่านกัมมันต์ วิธีการนี้ต้องทำอย่างต่อเนื่อง และหลายรอบ ถือว่าเป็นการสกัดด้วยน้ำ
  2. นอกจากการละลายคาเฟอีนออกจาก เมล็ดกาแฟด้วยน้ำแล้ว ก็อาจจะใช้ ตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น เมธิลีนคลอไรด์ เอธิลอะซิเตต ซึ่งมักพบในผลไม้หรือผัก ซึ่งการใช้ตัวทำละลายอินทรีย์นี้จะทำหลังจากการสกัดด้วยน้ำแล้ว ซึ่งคาเฟอีนที่อยู่ในตัวทำละลายจะถูกนำไปสกัดต่อไป และตัวทำละลายดังกล่าวสามารถนำมาใช้ซ้ำได้ เมื่อนำเมล็ดกาแฟสดหลังจากสกัดไปคั่ว ตัวทำละลายที่เหลืออยู่ก็ระเหยออกไป เนื่องจากเป็นสารระเหยง่าย
  3. อีกวิธีหนึ่งในการละลายคาเฟอีนออกจากเมล็ดกาแฟสดคือ การใช้คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของอากาศ แต่คาร์บอนไดออกไซด์ที่ใช้จะอยู่ในสภาพที่เป็นของไหล เรียกว่าของไหลยวดยิ่ง ซึ่งเป็นสภาวะที่มีความดันสูง นอกจากนี้ยังใช้คาร์บอกไดออกไซด์นี้ไหลผ่านถ่านกัมมันต์ จากกระบวนการล้างด้วยน้ำเพื่อสกัดคาเฟอีนออกมา หลังจากสกัดข้างต้น เมล็ดกาแฟสดดังกล่าวก็จะถูกทำให้แห้ง และนำไปคั่วต่อไป ซึ่งคาเฟอีนจะถูกสกัดออกไปมากกว่าร้อยละ 99
น้ำอัดลม
  1. เครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลมเป็น ที่นิยมกันมากทั่วโลก ทั้งในประเทศไทยเองก็รู้จักกันเกือบทุกคน แต่คนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าน้ำอัดลมประเภทโคล่า 1 ขวดมีคาเฟอีนเกือบเท่ากาแฟ 1 ถ้วย และถ้าดื่มมากๆ ก็จะเป็นอันตราย
  2. ปัจจุบันนี้มีทั้งเด็กและ ผู้ใหญ่ที่ติดน้ำอัดลมประเภทนี้ เรียกว่าแทบจะดื่มแทนน้ำเปล่ากันเลย โดยเฉพาะในเด็กนั้นมีข้อมูลที่น่าจะเป็นห่วงว่าจะกระทบกรเทือนต่อร่างกาย และการเจริญเติบโตทางสมองของเด็กได้
  3. ในสหรัฐอเมริกาขณะนี้ ประชาชนตื่นตัวกันมาก บริษัทต่างๆ ต้องผลิตน้ำอัดลมประเภทโคล่าที่ไม่มีคาเฟอีนออกจำหน่าย
เครื่องดื่มชูกำลัง
  1. เครื่องดื่มที่เรียกว่ายาชู กำลัง หรือเครื่องดื่มเพื่อให้กำลังงาน เป็นที่นิยมกันมาก โดยเฉพาะในกลุ่มคนขับรถรับจ้าง รถบรรทุก และกรรมกร ซึ่งก็มีรายได้ไม่มากนักแต่ต้องมาเสียเงินซื้อยาชูกำลังดื่มวันละหลายๆ ขวด ทั้งๆ ที่ไม่จำเป็นหรือเป็นประโยชน์ต่อร่างกายเลย แถมยังเป็นการทำลายสุขภาพของตนเองอย่างน่าเสียดายด้วย
  2. เครื่องดื่มชูกำลังไม่มีคุณค่า ทางโภชนาการเลย นอกจากวิตามิน เกลือแร่ และน้ำตาลเพียงเล็กน้อยที่ผสมอยู่
  3. การที่รู้สึกว่า “มีกำลัง” หลังจากดื่มยาชูกำลังก็เพราะสารคาเฟอีนที่ผสมอยู่นั่นเอง ซึ่งก็ไม่ได้เสริมกำลังจริง ซ้ำยังทำให้เกิดอุบัติเหตุมากขึ้น โดยเฉพาะในรายที่กินยาม้าด้วย
ยาแก้ปวด
สำหรับยาแก้ปวดนั้น ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะพิสูจน์ว่า การผสมคาเฟอีนกับแอสไพรินจะทำให้ประสิทธิภาพของยาแก้ปวดดีขึ้น ถ้าใช้ยาแก้ปวดแอสไพรินที่ผสมคาเฟอีนเป็นประจำ ก็จะทำให้ติดยาแก้ปวดโดยไม่จำเป็น ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพและเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ ชาวนาชาวสวนซึ่งเป็นกระดูกสันหลังของชาติ จึงมีจำนวนไม่น้อยที่กำลังติดยาแก้ปวดที่มีคาเฟอีนผสมอยู่
โทษของคาเฟอีน
  1. ใจสั่น โดยหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ หรือเต้นผิดจังหวะ
  2. ทำให้ความดันโลหิตสูง
  3. ทำให้ไขมันในเลือดสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งโคเลสเตอรอล เกิดเป็นโรคหัวใจตามมาง่ายขึ้น
  4. กระเพาะอาหารผลิตกรดออกมามากกว่า ปกติ ซึ่งทำให้เกิดแผลใน กระเพาะอาหารง่ายขึ้น
  5. เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน อาจทำให้มีก้อนซีสต์ที่เป็นเนื้องอกในเต้านมสตรี
  6. ทำลายโครโมโซมในหนูที่ใช้ทดลอง และลูกหนูที่คลอดออกมาพิการไม่สมประกอบ ในปี ค.ศ.1980 สำนักงานอาหาร และยาของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศเตือนให้สตรีที่ตั้งครรภ์ หรือลดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพราะอาจจะเป็นอันตรายต่อเด็กในครรภ์ได้
  7. ระบบประสาทถูกกระทบกระเทือน ทำให้นอนไม่หลับ มือสั่น ตึงเครียด อารมณ์เสียง่าย ปวดหัว ประสิทธิภาพการทำงานต่ำลง
เครื่องดื่มผสมคาเฟอีน
  1. เครื่องดื่มผสมคาเฟอีนจัดเป็น อาหารควบคุมเฉพาะ ซึ่งการขึ้นทะเบียนต้องอยู่ในหลักเกณฑ์บางประการ ได้แก่ ต้องมีโรงงานที่ได้มาตรฐาน มีการเสนอสูตรตำรับ มีการควบคุมสารกาเฟอีนไม่ให้เกิน 50 มิลลิกรัมต่อหน่วยบรรจุ และไม่มีสารอันตรายอื่นๆ ผสมอยู่
  2. โดยทั่วไป การขึ้นทะเบียนเครื่องดื่มผสมกาเฟอีน โดยใช้ขั้นตอนที่เคยใช้มา ไม่พบว่ามีปัญหาแต่อย่างใด ปัจจุบันพบว่าเป็นปัญหาเรื่องการแข่งขันทางการตลาด และปัญหาจากการโฆษณาเสียมากกว่า
  3. สินค้ากลุ่มเครื่องดื่มผสมคาเฟ อีนนี้มีการแข่งขันทางด้านธุรกิจที่รุนแรง
กาแฟเอสเพรสโซ
  1. ชาวฝรั่งเศสได้เริ่มใช้เครื่อง ผลิตกาแฟเอสเพรสโซเครื่องแรกเมื่อ ค.ศ. 1822 แต่ผู้ที่สร้างเครื่องผลิตเอสเปรสโซแบบสมบูรณ์ และนำมาจัดจำหน่ายในภายหลัง กลับเป็นชาวอิตาเลียน
  2. ต้องใช้เมล็ดกาแฟทั้งสิ้น 42 เมล็ดจึงจะผลิตเอสเพรสโซได้ เอสเพรสโซมีคาเฟอีนน้อยกว่ากาแฟธรรมดาหนึ่งถ้วย กาแฟกลั่นหยดหนึ่งถ้วยมีคาเฟอีนอยู่ราว 115 มิลลิกรัม ขณะที่เอสเพรสโซมีคาเฟอีนราว 80 มิลลิกรัม กาแฟผงสำเร็จรูปมีคาเฟอีนประมาณ 65 มิลลิกรัม ส่วนกาแฟชนิดไม่มีคาเฟอีนนั้นก็ใช่ว่าจะปราศจากคาเฟอีนโดยสิ้นเชิง เพราะจริงๆ แล้วมีคาเฟอีนอยู่ราว 3 มิลลิกรัม โคคาโคล่าหนึ่งกระป๋องมีคาเฟอีนประมาณ 45 มิลลิกรัม เป๊ปซี่โคล่ามีคาเฟอีน 38 มิลลิกรัม เมาเทนดิวมีคาเฟอีน 54 มิลลิกรัม และแท็บมีคาเฟอีน 47 มิลลิกรัม ชานั้นมีคาเฟอีนประมาณ 40 มิลลิกรัม ส่วนช็อกโกแล็ตหนึ่งออนซ์มีคาเฟอีนอยู่ราว 20 มิลลิกรัม
  3. คำว่า "คาปูชิโน" มาจากพระนิกายคาปูชินของโรมันคาทอลิกในศตวรรษที่ 16 ซึ่งสวมผ้าคลุมศีรษะที่เรียกว่าคาปูชิโน คาปูชิโนคือกาแฟซึ่งมีฟองครีมร้อนที่ทำมาจากนมอยู่ด้านบน
เมล็ดกาแฟ
  1. กาแฟเป็นเมล็ดของไม้เถาที่ให้ผล ผลิตประมาณ 1 กิโลกรัม ต่อปี ทั่วโลกมีกาแฟพันธุ์ต่างๆ อยู่มากกว่า 25 พันธุ์ โดยพันธุ์หลักๆ ที่เพาะปลูกกันเพื่อการค้า ได้แก่ พันธุ์โรบัสต้า พันธุ์ไลเบอเรีย และพันธุ์อะราบิก้า พันธุ์อาราบิก้าคิดเป็นปริมาณร้อยละ 70 ของทั้งหมด
  2. การสกัดคาเฟอีนออกจากกาแฟทำได้ โดยใส่สารละลายไฮโดรคาร์บอนที่มีคลอรีนผสมลงในเมล็ดกาแฟเขียว
  3. ขั้นตอนการผลิตกาแฟผงสำเร็จรูป ผสมกาแฟบดเข้ากับกาแฟอบด้วยน้ำร้อน จากนั้นใช้เครื่องขจัดความชื้นแบบสเปรย์ และความดันระดับสูงเพื่อให้น้ำระเหยไปเหลือไว้แต่ผงกาแฟ กาแฟผงสำเร็จรูปได้รับการคิดค้นขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1906 โดยนายจี. วอชิงตัน ชาวอังกฤษซึ่งอาศัยอยู่ในกัวเตมาลา
  4. ผลิตภัณฑ์กาแฟบางชนิดอาจใช้ชิคอ รี่ ซึ่งเป็นดอกไม้ป่าชนิดหนึ่งแทนกาแฟ หรืออาจใช้พืชจำพวกมะเดื่อ อินทผลัม มอลต์ หรือข้าวบาร์เลย์ ทั้งหมดนี้มีรสชาติที่ใกล้เคียงกับกาแฟ จริงๆ น้อยมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น