โดย : Kinb Powe
สมองของคนเราเป็น อวัยวะที่มีความสลับซับซ้อนในการทำงาน เซลล์สมองเป็นเซลล์ที่มีความจำเพาะและ เปราะบางที่สุด หากเซลล์สมองซึ่งในคนปกติมีอยู่นับพันล้านตัวเกิดการเสียหาย จะไม่มีการสร้างมาทดแทนได้เช่นอวัยวะอื่นๆ มนุษย์เราทราบถึงความมหัศจรรย์ในการทำงาน และความสามารถของสมองมานานแล้ว...
สมองของคนเราเป็น อวัยวะที่มีความสลับซับซ้อนในการทำงาน เซลล์สมองเป็นเซลล์ที่มีความจำเพาะและ เปราะบางที่สุด หากเซลล์สมองซึ่งในคนปกติมีอยู่นับพันล้านตัวเกิดการเสียหาย จะไม่มีการสร้างมาทดแทนได้เช่นอวัยวะอื่นๆ มนุษย์เราทราบถึงความมหัศจรรย์ในการทำงาน และความสามารถของสมองมานานแล้ว...
สมองเสื่อม...ความผิดปกติที่รักษาได้
สมองของคนเราเป็นอวัยวะที่มีความสลับซับซ้อนในการทำงาน เซลล์สมองเป็นเซลล์ที่มีความจำเพาะและ เปราะบางที่สุด หากเซลล์สมองซึ่งในคนปกติมีอยู่นับพันล้านตัวเกิดการเสียหาย จะไม่มีการสร้างมาทดแทนได้เช่นอวัยวะอื่นๆ มนุษย์เราทราบถึงความมหัศจรรย์ในการทำงาน และความสามารถของสมองมานานแล้ว จึงได้พยายามหาวิธีที่จะเพิ่มศักยภาพของสมองให้ตัวเองฉลาดขึ้น หรือหายาที่จะช่วยบำรุงให้สมองดีขึ้น แต่ก็ยังไม่ประสพผลสำเร็จ ตรงกันข้าม คนส่วนใหญ่เมื่ออายุมากขึ้นโดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี มักมีปัญหาเรื่องความจำ มักจะหลงลืมง่าย หรือบุคลิกภาพ และอารมณ์ผิดไปจากปกติ บางรายเป็นมากจนจัดอยู่ในขั้นภาวะสมองเสื่อม
เมื่อ พูดถึงโรค “สมองเสื่อม” เรามักคิดถึงโรคอัลไซเมอร์ก่อนเป็นสิ่งแรก ทั้งที่ในความจริงแล้วสมองเสื่อมคือภาวะหนึ่งของสมองซึ่งเกิดได้จากหลาย สาเหตุ และที่สำคัญ ใช่ว่าภาวะนี้จะเกิดกับผู้สูงอายุเท่านั้น ในผู้ที่มีอายุน้อย วัยรุ่นหนุ่มฉกรรจ์ ก็อาจเกิดภาวะสมองเสื่อมได้เช่นกัน โดยอาจมีสาเหตุมาจากโรคพันธุกรรม โรคการติดเชื้อของสมอง สารพิษ โรคหลอดเลือดสมอง หรือแม้กระทั่งอุบัติเหตุ เป็นต้น
ภาวะสมองเสื่อมคืออะไร
เพื่อความเข้าใจถึงภาวะสมองเสื่อมที่ชัดเจน นายแพทย์สุพล เจริญจิตต์กุล อายุรแพทย์ระบบประสาท ศูนย์สมองและระบบประสาทกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ ได้อธิบายไว้ว่า
“โดย ทั่วไปคนไข้มักจะเข้าใจว่า ภาวะสมองเสื่อมก็คือการมีความจำแย่ลง แต่จริงๆ แล้วยังมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง พฤติกรรม การรับรู้-การเรียนสิ่งใหม่ๆ เสื่อมถอย นอกจากนี้บางคนอาจมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติอันเนื่องมาจากการทำงานของสมอง ที่เสื่อมลง เช่น ในโรคพาร์คินสันซึ่งก็คือภาวะสมองเสื่อมอย่างหนึ่ง คนไข้อาจจะมือสั่น เดินซอยเท้า การทรงตัวไม่ดี แต่โดยทั่วไปแล้ว อัลไซเมอร์เป็นโรคที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุด คือเกือบครึ่งหนึ่งของคนไข้ที่มีภาวะสมองเสื่อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไข้ที่อายุเกิน 65 ปี ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุยังอาจเกิดจากโรคของหลอดเลือดสมอง ทั้งหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน หรือแตก
“ส่วนสาเหตุอื่นๆ ที่สามารถนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อมได้ในทุกวัยนั้นมีอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อในสมอง เช่น เชื้อ ไวรัส Herpes Encephalitis, ซิฟิลิสขึ้นสมอง, ภาวะเนื้องอกในสมองส่วนที่ควบคุมพฤติกรรม, ภาวะน้ำในโพรงสมอง (Normal Pressure Hydrocephalus), เลือดออกที่ใต้เยื่อหุ้มสมอง (Subdural Hematoma), การขาดวิตามินบี12, ผู้ที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง, โรคลมชักที่ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง, ผู้ได้รับสารพิษ เช่น สารตะกั่ว เป็น ต้น โดยภาวะสมองเสื่อมในกลุ่มนี้หากได้รับการวินิจฉัยโรคโดยเร็ว และทำการรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงที ผู้ป่วยก็มีโอกาสที่จะกลับคืนสู่สภาพปกติได้ แต่หากได้รับการรักษาช้า สมองย่อมจะถูกทำลายไปมาก แม้จะได้รับการรักษาก็อาจมีความพิการของสมองหลงเหลืออยู่ได้”
การรักษาภาวะสมองเสื่อมทำได้อย่างไร
การ รักษาภาวะสมองเสื่อมนั้น คุณหมอสุพลบอกว่า มีทั้งโรคที่สามารถรักษาได้ผลดีและรักษาได้บางส่วน แต่ก็สามารถทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
“อยาก ให้ตระหนักกันว่า ยังมีภาวะสมองเสื่อมที่เกิดจากโรคต่างๆ ซึ่งสามารถรักษาได้หากมาพบแพทย์ทันท่วงทีและได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ไม่ใช่มองแต่ว่าภาวะสมองเสื่อมคืออัลไซเมอร์ และรักษาไม่หายขาด” คุณหมอกล่าว
แต่ก่อนจะถึงขั้นตอนของการรักษา จะต้องทราบถึงสาเหตุเสียก่อน ดังนั้นขั้นตอนในการวินิจฉัยโรคจึงมีความสำคัญมาก
“ก่อน อื่นเราต้องตรวจให้ได้เสีย ก่อนว่าคนไข้มีภาวะสมองเสื่อมจริงหรือไม่ เพราะยังมีภาวะสมองเสื่อมเทียม (Pseudodementia) ที่อาจเกิดจากโรคซึมเศร้า คนไข้จะมีอาการวิตกกังวล ไม่มีสมาธิที่จะจดจำสิ่งต่างๆ ได้ดีเหมือนคนปกติ อาการเช่นนี้ก็ทำให้ดูเหมือนมีภาวะสมองเสื่อมได้เช่นกัน ส่วนจะใช้เวลานานเพียงใดกว่าที่จะแสดงอาการของภาวะสมองเสื่อมนั้น ไม่สามารถบอกได้ แต่กลุ่มที่มีภาวะสมองเสื่อมเทียมจากอาการซึมเศร้า คนไข้จะแสดงอาการไม่นานก็มักมาพบแพทย์ แต่หากเป็นอัลไซเมอร์ จะใช้เวลาเป็นเดือนในการที่จะแสดงอาการให้ชัดเจนขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ต้องอาศัยข้อมูลการเฝ้าสังเกตอาการจากญาติถึงความเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้น
“เมื่อตรวจพบว่าคนไข้มีภาวะสมองเสื่อมจริง แพทย์จะตรวจร่างกายเพื่อแยกโรคต่างๆ ซึ่งรวมการตรวจเลือด การตรวจสมองด้วยการทำ CT Scan หรือการตรวจ MRI ตรวจคลื่นสมอง EEG เป็นต้น เมื่อทราบสาเหตุแล้วก็รักษาที่ต้นเหตุ แต่การรักษาจะได้ผลดีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพของโรค ตัวอย่างเช่น การ ติดเชื้อในสมอง คนที่มีอาการ 1 วัน สมองย่อมจะไม่ถูกทำลายมากเท่ากับคนที่มีอาการมาแล้ว 4-5 วัน เมื่อได้รับการรักษา สมองย่อมฟื้นตัวได้ดีกว่า ยิ่งมาพบแพทย์เร็ว ได้รับการรักษาเร็ว สมองก็แทบจะไม่มีผลเสียหายตามมา”
จะป้องกันตนเองจากภาวะสมองเสื่อมได้อย่างไร
คุณหมอสุพลยังได้ฝากวิธีง่ายๆ ในการดูแลตนเองให้ห่างไกลจากปัจจัยเสี่ยงที่จะนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อม คือการพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อาจจะโดยการวิ่งเหยาะๆ วันละ 30 นาที ให้ได้มากกว่า 4 ครั้งต่อสัปดาห์ นอก จากนี้ต้องดูแลตัวเองไม่ให้มีปัจจัยเสี่ยง ไม่ให้มีเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง สิ่งใดที่ทำแล้วเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการดื่มสุรา สูบบุหรี่ ควรงดเสีย และเมื่อเกิดอาการผิดปกติใดๆ อย่าซื้อยารับประทานเอง เพราะยาหลายชนิดจะทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมเมื่อรับประทานเป็นระยะเวลานานๆ โดยไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์ หรือยาบางชนิดก็ทำให้เกิดอาการมือสั่นหรือแข็งเกร็งคล้ายพาร์คินสันได้
“ที่ สำคัญคือทั้งตัวเราเอง และบุคคลรอบข้างควรสังเกตซึ่งกันและกันคือถ้ามีบุคลิกเปลี่ยนแปลง สับสน ความจำเสื่อมลง พฤติกรรมเปลี่ยนไป ยิ่งถ้ามีไข้ร่วมด้วย ยิ่งต้องรีบพามาพบแพทย์เพื่อรับการรักษาต่อไป” คุณหมอสุพลกล่าวสรุป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น