- ไมเกรน (migraine)

ไมเกรน (migraine)
โดย : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
โรคปวด ศีรษะ อาการปวดเป็นพักๆ เป็นๆ หายๆ มีความรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก อาการปวดไมเกรน จะแย่ลงถ้ามีการเคลื่อนไหว ขณะปวดมักมีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียนร่วมด้วย ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่มีอาการนำก่อนปวด เช่น เห็นแสงวูบวาบคล้ายแสงแฟลช ตามองไม่เห็นชั่วครู่ ชาข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย...

imageไมเกรน (migraine)

โรคนี้พบในเพศหญิงมากกว่าชาย
เริ่มอาการครั้งแรกในวัยรุ่นหรือหนุ่มสาว อาการเป็นๆ หายๆ ถี่หรือห่างแล้วแต่บุคคลและปัจจัยสภาพแวดล้อม บาง คนอาการจะหายไปเมื่ออายุเลยวัยกลางคนไปแล้ว ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเกิดอาการไมเกรนครั้งแรกในช่วงอายุก่อน 30 ปี แต่ผู้ป่วยบางส่วนอาจจะมีอาการครั้งแรกในช่วงอายุ 40-50 ปี
ผลกระทบที่สำคัญที่เห็นได้ชัดคือ เสียสุขภาพกาย ต้องทรมานจากความปวด บางรายปวดรุนแรงมากจนแทบอยากจะวิ่งเอาหัวชนฝาผนัง บางรายก็ปวดข้ามวันข้ามคืนจนนอนหลับไม่สนิท บ้างก็คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลียจนเสียสมรรถภาพการเรียนการทำงาน ไม เกรนเป็นโรคหนึ่งที่ทำให้ผู้ที่ทำงานประเภทใช้ความคิดต้องขาดงานเป็นจำนวน มาก ทำให้สูญเสียทางเศรษฐกิจไม่น้อย ถ้าเป็นบ่อยมากเป็นรุนแรงมากๆ ก็ทำให้เสียสุขภาพจิตได้
สาเหตุ
  1. imageสาเหตุและกลไกการ เกิดโรคยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ระยะหลังมานี้มีคณะวิจัยทางด้านจีโนมิกส์ พบว่า ion-transport gene อาจเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคไมเกรน
  2. พบว่าระบบประสาทของผู้ที่เป็นไมเกรนไวต่อการเปลี่ยนแปลงในร่างกายและสิ่งแวดล้อมมากกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นไมเกรน เมื่อระบบประสาทมีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงจะทำให้เกิดการอักเสบของเส้นเลือด และเส้นประสาทรอบๆ สมอง
  3. บางทฤษฎีอธิบายจากความผิดปกติที่ระดับสารเคมีในสมอง การสื่อกระแสในสมอง หรือการทำงานที่ผิดปกติไปของหลอดเลือดสมองก็ได้
  4. หลักฐานข้อมูลทางระบาดวิทยา เชื่อว่าไมเกรนถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ แต่ จะเกิดอาการหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้งภายในและภายนอกร่างกายที่มากระทบ ไมเกรนเป็นความผิดปรกติในกลุ่มโรคที่มีปัจจัยทางพันธุกรรมร่วมด้วย โดยมีอาการทางระบบประสาทก่อนมีอาการปวดศีรษะไมเกรน
  5. เดิมเชื่อว่าเกิดจากหลอดเลือดในสมองมีการหดตัวเกิดขึ้น หลังจากนั้นร่างกายมีการตอบสนองโดยการทำให้หลอดเลือดมีการขยายตัว ซึ่งการขยายตัวของหลอดเลือดนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวด
    ศรีษะขึ้น
ปัจจัยกระตุ้น
  1. imageอาหาร การ รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อาหารที่ใส่ผงชูรส ใส่สารถนอมอาหาร อาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ สารบางชนิดกระตุ้นให้เกิดอาการ เช่น คาเฟอีน ช๊อคโกแล็ต ผงชูรส สารไนเตรท สารไทรามีน
  2. การนอนหลับ การ นอนหลับมากหรือน้อยเกินไปสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดได้ จากการทดลองในห้องปฏิบัติการพบว่าฮอร์โมนเมลาโทนินเกี่ยวข้องกับการขยายและ หดตัวของหลอดเลือดในสมอง
  3. ฮอร์โมน ผู้หญิง จำนวนมากที่เป็นไมเกรนมักจะมีอาการปวดในช่วงที่มีประจำเดือน และความรุนแรงและระยะเวลาในการปวดมักจะมากกว่าหรือการปวดในช่วงอื่น การตั้งครรภ์ในช่วงเดือนแรกๆ มักจะทำให้อาการปวดไมเกรนแย่ลง
  4. สิ่งแวดล้อม อุณหภูมิ ที่เปลี่ยนแปลง เช่น อากาศร้อน ตากแดด กลิ่นบางอย่าง เช่น น้ำหอม ควันบุหรี่ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ การอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ
  5. ความหิว มีการศึกษาวิจัยพบว่าความหิวเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดไมเกรนเท่าๆ กับความวิตกกังวล ความโกรธ และภาวะซึมเศร้า
  6. ความเครียด ผู้ ที่มีความเครียดและไม่สามารถจัดการกับความเครียดในการดำเนินชีวิตประจำวัน ได้ จะมีโอกาสเกิดอาการปวดศีรษะไมเกรนได้บ่อยและรุนแรงกว่าผู้ที่ไม่เครียด
imageอาการ
อาการปวดศีรษะในโรคไมเกรนมีลักษณะสำคัญ คือ มัก มีอาการปวดข้างเดียว เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว มีอาการปวดตื้อๆ อาการปวดมักเป็นมาก ปานกลาง ถึงรุนแรง และมักเป็นมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว ระยะ เวลาของอาการปวดเกิดขึ้นได้แตกต่างกันได้มาก อาจพบอาการเบื่ออาหารได้ค่อนข้างบ่อย ส่วนอาการคลื่นไส้พบได้ประมาณร้อยละ 90 ในขณะที่อาการอาเจียนพบในผู้ป่วยประมาณ 1 ใน 3 ภาวะที่ผู้ป่วยไวต่อสิ่งเร้าได้ง่ายขึ้นก็พบได้เช่นกัน ดังนั้น ผู้ป่วยไมเกรนส่วนใหญ่มักอยากอยู่ในห้องมีดและเงียบเพราะจะทำให้อาการปวดศีรษะดีขึ้น
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยไมเกรนอาศัยประวัติและการตรวจร่างกายเป็นสำคัญ ลักษณะอาการปวด ตำแหน่ง ความรุนแรง
ความถี่ ระยะเวลาที่ปวด บาง รายอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ไข้ อาการชัก แขนขาอ่อนแรงข้างใดข้างหนึ่ง ประวัติโรคประจำตัวและประวัติการใช้ยา การตรวจเลือด หรือการตรวจทางเอ็กซเรย์ช่วยวินิจฉัยแยกโรคในบางกรณี

การที่จะทราบว่าอาการ ปวดหัวเกิดจากสาเหตุใดนั้น ต้องอาศัยลักษณะต่างๆ ของอาการปวด อาการที่เกิดร่วมด้วย ความผิดปกติของการทำงานของสมอง หรืออวัยวะต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดอาการปวด ลักษณะต่างๆ ของอาการปวด ได้แก่ ตำแหน่งที่ปวด ความรุนแรง ลักษณะการปวด ลักษณะการดำเนินของอาการปวด มีส่วนช่วยในการวินิจฉัยโรคทั้งสิ้น นอกจากนี้ อาการที่เกิดร่วมด้วย เช่น ไข้ ตาแดง ตาโปน น้ำมูกมีกลิ่นเหม็น คลื่นไส้ เวียนหัว ก็มีความสำคัญเช่นกัน

ความผิดปกติของการทำงานของสมอง หรือ อวัยวะต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดอาการปวด เช่น ความคิดอ่านเชื่องช้า มองเห็นภาพซ้อน แขนขาอ่อนแรง เดินเซ ส่วนปัจจัยกระตุ้นอาการปวด ได้แก่ ความเครียด แสงจ้าๆ อาหารบางชนิด บางรายอาจพบว่ามีปัจจัยทุเลาอาการปวด เช่น การนอนหลับ การนวดหนังศีรษะ และยา
การรักษา
  1. imageวิธีการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคไมเกรนที่สำคัญ ได้แก่ การบรรเทาอาการปวดศีรษะ และการป้องกันไม่ให้เกิดหรือลดความถี่ ความรุนแรงของอาการปวดศีรษะ
  2. การบรรเทาอาการปวดศีรษะอาจไม่จำเป็นต้องใช้ยา เช่น การนวด การกดจุด การประคบเย็น การประคบร้อน หรือการนอนหลับ ในรายที่ไม่ได้ผลหรืออาการปวดรุนแรงก็จำเป็นต้องใช้ยาแก้ปวด ปัจจุบันมียาแก้ปวดที่ได้ผลดีหลายชนิด ยาแต่ละชนิดก็มีผลข้างเคียงต่างๆ กันไป ประกอบกับผู้ป่วยแต่ละรายก็ตอบสนองต่อยามาไม่เหมือนกัน จึงต้องเลือกให้เหมาะสมในแต่ละรายไป สำหรับยาที่ระงับอาการไมเกรนปัจจุบันนิยมใช้ยาในกลุ่ม ergot alkaloids และ triptans
  3. การป้องกันไม่ให้เกิด หรือลดความถี่ ความ รุนแรงของอาการปวดศีรษะนั้น ที่สำคัญมีอยู่ 2 วิธี วิธีแรกก็คือ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอร่วมกับการกำจัดความเครียดอย่างเหมาะสม วิธีที่สองคือ การรับประทานยาป้องกันไมเกรน แพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาป้องกันก็ต่อเมื่อปวดศีรษะบ่อยมาก เช่น สัปดาห์ละ 1-2 ครั้งขึ้นไป หรือแม้จะปวดไม่บ่อยแต่รุนแรงมากหรือนานต่อเนื่องกันหลายวัน
  4. ยาป้องกันไมเกรนนั้นมีอยู่หลายชนิด จะ ต้องเลือกชนิดและปรับขนาดยาให้เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายไป แนะนำให้รับประทานยาป้องกันต่อเนื่องจนอาการสงบลงนาน 6-12 เดือน จึงลองหยุดยาได้ เมื่อกำเริบขึ้นอีกจึงเริ่มรับประทานใหม่
  5. ยาต้านเบต้า เช่น propanolol, nadol, atenodol, metoprolol และ timolol ซึ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันไมเกรนได้ แต่ยากลุ่มนี้ทำให้เกิดอาการข้างเคียงทางพฤติกรรมได้ เช่น ง่วงซึม อ่อนล้าง่าย การนอนหลับผิดปกติ ฝันร้าย ภาวะซึมเศร้า ความจำเลวลง และประสาทหลอน ยาในกลุ่มนี้จะต้องหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยไมเกรนที่มีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วย
  6. ยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่ม tricyclic antidepressant เช่น amitriptyline เป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันอาการไมเกรน อารข้างเคียงของยานี้คือ รับประทานอาหารเพิ่มขึ้น ปากแห้ง และง่วงซึม
  7. ยากันชักบางชนิด 
  8. ปัจจุบันมีหลักฐานเพิ่มมากขึ้นว่ายากันชักสามารถนำมาใช้ป้องกันไมเกรนได้ผลดี เช่น sodium valproate, toprimate

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น