กินอย่างไร..เพื่อหลีกเลี่ยงหัวใจอ่อนกำลัง
โดย : คอลัมน์นิสต์
ภาวะหัวใจอ่อน กำลัง หรือที่เคยเรียกกันว่า ภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีภาวะหัวใจอ่อนกำลัง มักมีความดันโลหิตสูงมานาน และควบคุมได้ไม่ค่อยดี
ภาวะหัวใจอ่อน กำลัง หรือที่เคยเรียกกันว่า ภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีภาวะหัวใจอ่อนกำลัง มักมีความดันโลหิตสูงมานาน และควบคุมได้ไม่ค่อยดี
จริงๆ แล้วการควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงนอกเหนือจากการใช้ยา การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมควบคู่กับการควบคุมน้ำหนักก็ช่วยควบคุม ความดันโลหิตสูงได้เช่นกัน
อาหารเค็มจัด เป็นอาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง เพราะ ทำให้น้ำขังในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย และการตามมาของภาวะหัวใจอ่อนกำลัง จนถึงหัวใจล้มเหลวในที่สุดได้ อาหารเค็มจัดที่ว่าก็คือ อาหารแปรรูปทั้งหลาย เช่น ไข่เค็ม ปลาเค็ม ผักกาดดอง เกี้ยมฉ่าย เต้าหู้ยี้ ไส้กรอก กุนเชียง หมูหยอง อาหารทั้งหลายเหล่านี้ได้ผ่านกระบวนการที่ทำให้เก็บไว้ได้นานๆ โดยทำให้มีความเข้มข้นของเกลือ หรือน้ำตาลสูง ดังนั้นวิธีการปฏิบัติตัวขั้นแรกคือ หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปทุกชนิด ก็จะช่วยลดความเค็มหรือโซเดียม จากอาหารได้
คำแนะนำในการบริโภคอาหาร
- การปรุงแต่งรสชาติอาหารควรใช้สารปรุงแต่งรส เช่น น้ำปลา ซอส ซีอิ้ว ในปริมาณพอเหมาะ หลีกเลี่ยงการใช้ผงชูรส (monosodium glutamate) เนื่อง จากสารปรุงรสเหล่านี้มีสารประกอบของโซเดียมซึ่งทำให้ความดันโลหิตสูง อาจทำให้มีการสะสมน้ำในร่างกาย ทำให้เกิดภาวะบวมน้ำ หัวใจและไตทำงานหนักมากขึ้น
- ปริมาณโซเดียมที่แนะนำให้กินในแต่ละวัน (Thai RDI) ไม่ควรเกิน 2,400 มิลลิกรัม
อาหาร | หนึ่งหน่วย บริโภค | โซเดียม |
น้ำปลา | 1 ช้อนโต๊ะ | 1.160-1,490 |
ซีอิ้วขาว | 1 ช้อนโต๊ะ | 960-1,460 |
ซอสหอยนางรม | 1 ช้อนโต๊ะ | 420-490 |
กะปิ | 1 ช้อนโต๊ะ | 1,430-1,490 |
เกลือ | 1 ช้อนโต๊ะ | 2,000 |
ผงชูรส | 1 ช้อนโต๊ะ | 492 |
น้ำพริกเผา | 1 ช้อนโต๊ะ | 410 |
น้ำพริกตาแดง | 1 ช้อนโต๊ะ | 560 |
- หลีกเลี่ยงอาหารที่เค็มจัดหรือมีปริมาณโซเดียมสูง เช่น อาหารแปรรูปต่างๆ ไส้กรอก กุนเชียง แฮม หมูแผ่น หมูหยอง ผักดองต่างๆ เต้าหู้ยี้ ปลาเค็ม ไข่เค็ม เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ปาท่องโก๋ ไก่ทอด มันฝรั่งทอด หรืออาหารที่ใช้น้ำมันปริมาณมาก โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และคอเลสเตอรอลสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน ไขมันจากสัตว์ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม กะทิ เป็นต้น
- จำกัดน้ำมันในการประกอบอาหาร และควรเลือกใช้น้ำมันพืชในการประกอบอาหาร เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น
- รับประทานผัก และผลไม้เป็นประจำ
- ดื่มนมพร่องมันเนย หรือผลิตภัณฑ์จากนมพร่องมันเนย เช่น โยเกิร์ตไขมันต่ำ เป็นประจำทุกวัน พบว่า แคลเซี่ยมจากนมจะช่วยในการควบคุมความดันโลหิตได้
นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้บริโภคธัญพืชและผลิตภัณฑ์ เนื้อปลา เนื้อไก่ และถั่วต่างๆ ซึ่ง ลักษณะของอาหารนี้อุดมไปด้วยแร่ธาตุ แมกนีเซียม โปแตสเซียม แคลเซียม แลใยอาหาร ก็จะทำให้สุขภาพดี ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจได้
มี คนไข้ท่านหนึ่งหลังจากทำการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ เล่าว่า (เคยคิดว่า) เต้าหู้ยี้เป็นอาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคหัวใจ เพราะไขมันต่ำ ไม่มีคอเลสเตอรอลเพราะทำจากถั่วเหลือง แล้วคิดว่าไม่เค็มเท่าไหร่ เพราะกินกับข้าวต้ม ในความเป็นจริง กับข้าวที่กินกับข้าวต้มมักจะเค็มกว่าปกติ แต่หลังจากกลับเข้าโรงพยาบาลอีกครั้ง เนื่องจากหัวใจอ่อนกำลังจนล้มเหลว ต้องมาใส่ท่อช่วยหายใจหลายคืน เหตุเกิดเพราะอาหารที่กินประจำวัน คือ ข้าวต้มกับเต้าหู้ยี้ และผักกาดดองต่างๆ ก็เลยต้องกลับมาคิดให้ดีอีกรอบว่า เต้าหู้ยี้..ถึงแม้ว่าไขมันต่ำและไม่มีคอเลสเตอรอล แต่เค็มจริงๆ
ที่ น่าตกใจมากกว่า ก็คือ พอทราบว่าอาหารอะไรที่เค็มจัดและควรหลีกเลี่ยงแล้ว ผู้ป่วยก็มาบอกว่าตัวเองก็มีปัญหาหัวใจอ่อนกำลังเช่นกัน เนื่องจากอาหารที่เค็มจัดที่ว่ามา เป็นอาหารจานโปรดที่รับประทานเป็นประจำ พอหมอบอกให้หลีกเลี่ยงก็เลยคิดไม่ออกว่าจะกินอะไรดี..ว่าแล้วก็หัวใจอ่อน กำลังลงไปทันทีอ้วนเสี่ยงต่อ โรคหัวใจ
โดย : รศ.นพ.ดร. กิติพันธ์ วิสุทธารมย์ความ อ้วนแสดงถึงภาวะสุขภาพที่ไม่ดี เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองในผู้ใหญ่ น้ำหนักตัวที่มากเกินไปจะเพิ่มภาระให้กับหัวใจ และอาจนำไปสู่โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และระดับคลอเรสเตอรอลในเลือดสูง
การลดน้ำหนัก
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนการเริ่มทำการลดน้ำหนัก คือ สิ่งที่คุณเปลี่ยนเพื่อลดน้ำหนักต้องเป็นสิ่งที่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำ วันของคุณ อาหารลดน้ำหนักที่โฆษณายาลดน้ำหนัก ยาระบาย ยาขับปัสสาวะ ล้วนแล้วแต่ให้ผลชั่วคราวระยะสั้น และก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพคุณ และเมื่อใช้ไปนาน ๆ จะไม่เกิดผลในการลดความอ้วน ควรเปลี่ยนมาใช้วิธีเลือกอาหารที่มีคุณค่าและออกกำลังกาย จะช่วยลดน้ำหนักได้ผลดีกว่า
ควรเลือกรับประทานอาหารที่ประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (60-70% ของแคลอรี่ทั้งหมด) รับประทานอาหารประเภทโปรตีนพอประมาณ (10-15% ของแคลอรี่ทั้งหมด และรับประทานอาหารที่มีไขมันน้อย (น้อยกว่า 30% ของแคลอรี่ทั้งหมด)ร่วมกับการรับประทานอาหารในลักษณะดังต่อไปนี้
- รับประทานปริมาณน้อยลงและไม่เพิ่ม
- รับประทานช้า ๆ
- หลีก เลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เลือกรับประทานผลไม้ ผัก ปลา เนื้อเป็ด ไก่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน นมหรือผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันต่ำหรือไม่มีไขมัน
- หลีกเลี่ยงอาหารหวานจัด
- ลดอาหารประเภททอด ควรใช้วิธีอื่นในการประกอบอาหารแทนการทอด เช่น อบ ปิ้ง ย่าง หรือต้ม เป็นต้น
- รับประทานอาหารทีมีประโยชน์และเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ
- อ่านฉลากส่วนประกอบของอาหาร เพื่อหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันและแคลอรี่สูง
- ไม่ควรงดอาหารบางมื้อ
- หากลดน้ำหนักด้วยตนเองไม่สำเร็จ ควรปรึกษาโภชนากรหรือแพทย์ เพื่อช่วยวางแผนลดน้ำหนักที่เหมาะสมกับคุณ
การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการวางแผนลดน้ำหนัก เพราะจะช่วยเผาผลาญแคลอรี่และกำจัดน้ำหนักส่วนเกินออกไป
ออกกำลังกายแบบแอโรบิค (เช่น การ jogging เดินเร็วหรือขี่จักรยาน) เป็นเวลา 30 นาที อย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์ จะช่วยให้คุณลดน้ำหนักลงได้ ควรหากิจกรรมที่คุณชอบและจัดตารางได้อย่างเหมาะสม ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มเลือกวิธีการออกกำลังกาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น