โดย : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
การล้างไต เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาภาวะไตวาย ซึ่งในปัจจุบันมีการรักษาอยู่ 3 วิธี วิธีแรกเป็นการรักษาทั่วไป
การล้างไต เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาภาวะไตวาย ซึ่งในปัจจุบันมีการรักษาอยู่ 3 วิธี วิธีแรกเป็นการรักษาทั่วไป
เช่น การควบคุมอาหารและการรักษาด้วยยา ส่วนวิธีที่สองคือ การล้างไต ซึ่งแบ่งเป็นการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และการล้างไตทางช่องท้อง สำหรับวิธีการรักษาวิธีที่สามเป็นการผ่าตัดเปลี่ยนไต
โรคไตวายเกิดจากการที่ไตสูญเสียหน้าที่ ทำให้ไม่สามารถขับน้ำและของเสียออกจากร่างกายได้
ผลที่ตามมาที่สำคัญทำให้ร่าง กายอยู่ในภาวะเสียสมดุลของสารน้ำและเกลือแร่ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการคั่งของสารยูเรีย เกิดเป็นภาวะเลือดเป็นพิษ โรคไตวายอาจแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง ไต วายเฉียบพลันเกิดขึ้นแบบชั่วคราว สามารถฟื้นกลับมา ทำหน้าที่ได้อีก ผู้ป่วยหายเป็นปกติได้ ส่วนไตวายแบบเรื้อรัง พบว่าการทำงานของไตเสียอย่างถาวรไม่สามารถทำหน้าที่เป็นปกติได้อีกแล้ว
โดยปกติไตทำหน้าที่กรองของเสียและขับปัสสาวะ เพื่อกำจัดน้ำ เกลือแร่ และสารเคมีที่ร่างกายไม่ต้องการผ่านทางท่อไตไปสู่กระเพาะปัสสาวะ นอกเหนือจากหน้าที่กำจัดของเสียแล้ว ไตยังมีหน้าที่ปรับสมดุลของน้ำและสารเคมี
สร้างฮอร์โมนที่ช่วยในการผลิตเม็ดเลือดแดง และควบคุมความดันโลหิต
การล้างไต
การล้างไตเป็นการทำหน้าที่แทนไต ซึ่งไม่สามารถที่จะทดแทนหน้าที่ของไตปกติได้ทั้งหมด การล้างไตสามารถ
ทดแทนการทำงานของไตได้ 2 ประการเท่านั้น คือ การขับถ่ายของเสีย และ การรักษาสมดุลของกรดด่าง เกลือแร่ และน้ำ
ทดแทนการทำงานของไตได้ 2 ประการเท่านั้น คือ การขับถ่ายของเสีย และ การรักษาสมดุลของกรดด่าง เกลือแร่ และน้ำ
ส่วนหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องฮอร์โมนนั้นไม่สามารถกระทำไม่ได้
การล้างไตทางช่องท้อง
วิธีนี้ใช้สายยางฝังไว้ในช่องท้องอย่างถาวร และใส่น้ำยาเข้าไปในช่องท้อง เพื่อล้างเอาของเสียในเลือดออก ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำยาวันละ 4-5 ครั้ง ทุกวัน
วิธีนี้มีข้อดีที่ทำเองที่บ้าน ได้ แต่มีข้อเสียที่อุบัติการการติดเชื้อในช่องท้องสูงเมื่อทำไปนานๆ และมีการสูญเสียโปรตีนออกมาทางน้ำยามากในแต่ละวัน อาจเกิดภาวะขาดอาหารถ้ารับประทานอาหารไม่เพียงพอ
การล้างไตทางช่องท้องเป็น วิธีการที่ใช้น้ำยาล้างไตใส่เข้าไปในช่องท้อง โดยให้ผนังเยื่อบุช่องท้องรับหน้าที่เป็นตัวกรองฟอกเลือด แยกระหว่างส่วนของเลือดกับน้ำยาล้างไต
เนื่องจากผนังบุช่องท้องมีลักษณะ เป็นเนื้อเยื่อบางๆ บุอยู่ภายในช่องท้อง โดยที่ช่องท้องนั้นมีลักษณะคล้ายถุงบรรจุอวัยวะต่างๆ ทั้งกระเพาะอาหาร ลำไส้ ตับ ส่วนน้ำยาล้างไตที่ใส่เข้าไปนั้นก็จะอยู่ในถุง ส่วนของเลือดก็คือเส้นเลือดต่างๆ ที่อยู่ตามผิวของเยื่อบุช่องท้องและลำไส้ โดยมีผนังบุช่องท้องเป็นตัวกั้นและทำหน้าที่กรอง เมื่อใส่น้ำยาล้างไตเข้าไปในช่องท้องแล้วทิ้งไว้สักระยะ ของเสียในเลือดที่มีความเข้มข้นสูงกว่าน้ำยาล้างไต ก็จะมีการแพร่กระจายผ่านเยื่อบุช่องท้องเข้ามาอยู่กับน้ำยาล้างไต ทำให้ของเสียในเลือดลดลง เมื่อถ่ายน้ำยาล้างไตออกทิ้ง ของเสียในเลือดก็จะถูกกำจัดออกไป ทำเช่นนี้ต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ ของเสียในเลือดก็จะลดปริมาณลง
การล้างไตทางช่องท้อง
จะต้องให้แพทย์ทำการผ่าตัดหรือเจาะช่องท้องแล้วใส่สายยางชนิดพิเศษ สำหรับใส่น้ำยาล้างไต โดยปลายสายข้างหนึ่งอยู่ในช่องท้องในตำแหน่งที่ต่ำที่สุดของช่องท้องปลาย อีกข้างแทงผ่านผนังหน้าท้องออกมานอกผิวหนังของผู้ป่วย ในตำแหน่งที่อยู่ต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย ซึ่งปลายข้างนี้แหละที่เอาไว้ใช้ต่อกับถุงน้ำยาล้างไต และถ่ายเทเอาน้ำยาที่ใช้แล้วออก
โดยวิธีกาลักน้ำ คือ ถ้าจะใส่น้ำยาล้างไตเข้าไปในช่องท้องก็ยกถุงให้อยู่สูงกว่าช่องท้อง และเมื่อต้องการถ่ายน้ำยาออก ก็วางให้ถุงอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่าช่องท้อง
การล้างไตทางช่องท้องนั้น ผู้ ป่วยสามารถทำเองที่บ้านได้ ซึ่งต้องล้างอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน โดยเปลี่ยนน้ำยาล้างไตในช่องท้องครั้งละ 1,500-2,000 มิลลิลิตร วันละ 4-6 ครั้ง แต่ละครั้งแช่น้ำยา ค้างไว้ในช่อง ท้อง 4-6 ชั่วโมง ยกเว้นครั้งสุดท้ายของวันที่น้ำยาจะถูกแช่ไว้ในช่องท้องนานกว่าปกติ เพราะต้องแช่ไว้ตลอดทั้งคืน ซึ่งวิธีการนี้เรียกว่า
"การล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องด้วยตนเอง" หรือ CAPD (Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis)
นอกจากนี้ก็ยังมีการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องด้วยเครื่อง หรือ CCPD (Continuous Cycling Peritoneal Dialysis) ซึ่งจะเป็น เครื่องมือช่วยล้างไตในเวลากลางคืน หรือในขณะที่ผู้ป่วยนอนหลับ โดยเครื่องจะควบคุมการเปลี่ยนน้ำยาแบบอัตโนมัติ ทำให้ผู้ป่วยดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ และสามารถนอนหลับพักผ่อนในเวลากลางคืน
ได้อย่างสบายขึ้น
ในปัจจุบันยังมีการพัฒนาการล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ หรือ APD (Automated Peritoneal Dialysis)
ซึ่ง จะช่วยให้น้ำยาค้างอยู่ในช่องท้องนานที่สุด และลดเวลาในการปล่อยน้ำยาเข้าและออก จากเดิมที่ใช้วิธีกาลักน้ำ ซึ่งใช้เวลาในการปล่อยถ่ายน้ำยา และใส่น้ำยาประมาณ 1 ชั่วโมง ก็เปลี่ยนมาเป็นการปล่อยน้ำยาด้วยเครื่อง ขณะเดียวกันก็ยังเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ป่วย เพราะไม่ต้องแขวนถุงน้ำยา เนื่องจากเครื่องไม่ได้ใช้แรงโน้มถ่วงของโลกในการปล่อยน้ำยาเข้า-ออก
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
การฟอกเลือด (Hemodialysis) หมายถึงนำเลือดออกจากร่างกายผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ผ่านเข้าเครื่องไตเทียม
แล้ว ให้เครื่องทำการฟอกเลือดเหมือนกับไตที่ทำหน้าที่ตามปกติ เมื่อเครื่องไตเทียมทำหน้าที่ฟอกเลือดแล้ว จึงนำเลือดกลับเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยในระบบที่ปราศจากการปนเปื้อน เครื่องฟอกเลือดหรือเครื่องไตเทียม ใช้ตัวกรองช่วยทำให้เลือดสะอาด อีกทั้งยังช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนของเสีย เกลือแร่ ระหว่างเลือดกับน้ำยาฟอกเลือด ในขณะที่เลือดไหลผ่านตัวกรอง ซึ่งมีลักษณะเป็นหลอดเล็กๆ เหมือนหลอดเลือดฝอยที่มีรูขนาดเล็กมากๆ อยู่ที่ผนังของหลอด และมีน้ำยาฟอกเลือดไหลผ่านอยู่ด้านนอก เลือดของเสียที่มีระดับสูงในเลือดจะเคลื่อนผ่านผนังของตัวกรองเข้าไปอยู่ใน น้ำยาฟอกเลือด ทำให้ระดับของเสียในเลือดลดลง ส่วนน้ำและเกลือแร่จะมีการเคลื่อนผ่านผนังของตัวกรอง ทำให้ระดับของเกลือแร่และดุลของสารน้ำในร่างกายเป็นปกติ
วิธีการฟอกเลือด
เริ่มต้นโดย แทงเข็มเข้าสู่เส้นเลือดพิเศษที่ต้องเตรียมไว้ก่อน ส่วนใหญ่นิยมใช้เส้นเลือดที่บริเวณแขน หลังจากที่ได้แทงเข็มเรียบร้อยแล้ว จึงต่อเข้ากับท่อเพื่อนำเลือดไปยังตัวกรอง เมื่อเลือดผ่านไปยังตัวกรอง ซึ่งมีลักษณะทรงกระบอกและมีเส้นใยเล็กๆ อยู่ภายใน ที่บริเวณตัวกรองนี้ เลือดของ ผู้ป่วยจะมีการแลกเปลี่ยนสารกับยาชนิดพิเศษโดยสารที่มีความเข้มข้นภายในร่าง กาย ได้แก่ ของเสียต่างๆ เคลื่อนที่ไปยังน้ำยา และเกิดการแลกเปลี่ยนของเกลือแร่ต่างๆ จนเข้าสู่ภาวะสมดุล เยื่อกรองในตัวกรองสร้างจากสารสังเคราะห์พิเศษ ซึ่งทำให้เม็ดเลือดต่างๆ รวมทั้งโปรตีนไม่เสียออกไปจากร่างกาย หลังจากที่เลือดได้ผ่านการทำให้สะอาดแล้ว รวมทั้งมีการทำให้แร่ธาตุต่างๆ สมดุลแล้ว เครื่องจะนำเลือดที่ดีกลับเข้าสู่ผู้ป่วย เพื่อให้เลือดผู้ป่วยมีความเข้มข้นของบรรดาของเสียต่างๆ ลดลง โดยทั่วไปกระบวนการฟอกเลือดใช้เวลาครั้งละ 4-5 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เนื่อง จากต้องใช้เครื่องไตเทียมในการฟอกเลือดทุกครั้ง จึงต้องทำที่โรงพยาบาลหรือศูนย์ไตเทียม โดยมีพยาบาลและเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญดูแลอย่างใกล้ชิด
ประโยชน์ที่ได้รับจากเครื่องไตเทียม พบ ว่าอาการอันเกิดจากการคั่งของเกลือ และของน้ำ ได้แก่ อาการบวม หอบ เหนื่อย นอนราบไม่ได้ จะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว เห็นได้ภายใน 1-2 วัน ความดันโลหิตที่เคยสูงอยู่ก่อนนั้นจะลดลงและควบคุมได้ดีขึ้น หากมีภาวะหัวใจล้มเหลว อาการจะดีขึ้นอย่างชัดเจนภายใน 1-3 วัน อาการหอบเหนื่อย อันเกิดจากเลือดเป็นกรด จะดีขึ้นอย่างรวดเร็วภายในเวลา 1-3 วัน ส่วนอาการอันเกี่ยวข้องกับระบบประสาท ได้แก่ มึนงง สับสน ไม่รู้สติ กระตุก หรือชัก รวมทั้งอาการของระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ อาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหารจะดีขึ้นภายใน 2-4 วัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น