ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่.. หรืออาการช้ำรั่ว
โดย : bangkokhealth
ภาวะกลั้น ปัสสาวะไม่อยู่ (Urinary Incontinence, UI) เป็นอาการที่พบได้ในเพศหญิง วัยกลุ่มผู้ใช้แรงงาน โดยเฉพาะวัยกลางคน อาการอาจจะแทรกซ้อนอยู่ในกลุ่มโรคต่าง ๆ ในกลุ่มผู้สูงอายุทั้งสองเพศ ตลอดจนผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เป็นที่คาดการณ์ว่า ...
************iFLoWeRs***************
โรคท่อปัสสาวะตีบ urethral stricture
โรคท่อ ปัสสาวะตีบ urethral stricture เกิดจากเนื้อเยื่อพังผืดในท่อปัสสาวะหรืออยู่โดยรอบท่อปัสสาวะ ทำให้เกิดการอุดกั้นของน้ำปัสสาวะ ซึ่งต่อมาจะเกิดการอักเสบ และการติดเชื้อตามมาในภายหลัง...
โรคท่อปัสสาวะตีบ urethral stricture
โรคท่อปัสสาวะตีบ urethral stricture เกิดจากเนื้อเยื่อพังผืดในท่อปัสสาวะหรืออยู่โดยรอบท่อปัสสาวะ ทำให้เกิดการอุดกั้นของน้ำปัสสาวะ ซึ่งต่อมาจะเกิดการอักเสบ และการติดเชื้อตามมาในภายหลัง
โรคท่อปัสสาวะตีบเป็นปัญหาสำหรับผู้ชาย เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้ชายมีความยาวมากกว่าของผู้หญิงมาก จึงเกิดพยาธิสภาพหรือเกิดภยันตรายได้ง่าย
ท่อปัสสาวะแบ่งออกเป็นสามส่วน
- ส่วนแรกเป็นท่อปัสสาวะที่ออกมาจากกระเพาะปัสสาวะผ่านต่อมลูกหมาก เรียกว่า prostatic urethra
- ส่วนที่สองเป็นกล้ามเนื้อเรียบทำหน้าที่เป็นกล้ามเนื้อหูรูดควบคุมการถ่ายปัสสาวะ เรียกว่า membranous urethra ทั้งสองส่วนรวมกันมีความยาว 1-2 นิ้ว
- ส่วนที่สามเรียกว่า bulbar urethra และ penile urethra เป็นส่วนของท่อปัสสาวะที่อยู่ภายในองคชาติ ส่วนที่สามนี้มีความยาว 9-10 นิ้ว
สาเหตุ
- เกิดจากอุบัติเหตุและภยันตรายต่อท่อปัสสาวะ
- โรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหนองใน (gonorrhea)
- กรณีท่อปัสสาวะส่วนด้านหลังตีบ อาจเกิดจากกระดูกเชิงกรานแตกหักจากอุบัติเหตุรถยนต์หรืออุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรม
- เกิดจากการใส่สายสวนท่อปัสสาวะ
- ในบางรายเกิดภายหลังการผ่าตัดต่อมลูกหมาก การผ่าตัดนิ่วในไต
อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะแสบขัด ปริมาณน้ำปัสสาวะน้อย ไม่พุ่ง อาจพบเลือดในปัสสาวะ หรือปวดท้องได้
การวินิจฉัยโรค
แพทย์วินิจฉัยโรคจากลักษณะประวัติอาการและการตรวจร่างกาย การตรวจทางระบบทางเดินปัสสาวะ การถ่ายภาพรังสี การตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวน์ และการตรวจโดยการส่องกล้อง การตรวจพิเศษทางรังสีที่เรียกว่า retrograde urethrogram ช่วยในการวินิจฉัยโรคได้เป็นอย่างดี ทำให้ทราบถึงจำนวน ตำแหน่ง ความยาว และความรุนแรงของการตีบ วิธีตรวจทำโดยฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในท่อปัสสาวะไม่ต้องใช้สายสวน
การตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวน์ และการตรวจโดยการส่องกล้องที่เรียกว่า urethroscopy ช่วยในการวินิจฉัยเป็นอย่างมาก และช่วยให้แพทย์วางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม
แนวทางการรักษาโรค
การรักษาโรคท่อปัสสาวะตีบทำได้หลายวิธี ขึ้น กับตำแหน่ง ความยาว และความรุนแรงของการตีบตันที่เกิดขึ้น ในเบื้องต้นแพทย์อาจพิจารณาถ่างขยายท่อปัสสาวะ โดยใช้สายสวนหรือบอลลูน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการผ่าตัดรักษา วิธีที่ได้รับความนิยมคือผ่าตัดโดยใช้กล้องผ่านทางท่อปัสสาวะ บางรายแพทย์อาจพิจารณาใส่ตาข่ายถ่างขยายค้างไว้ในท่อปัสสาวะ
นอกจากนี้ ยัง มีวิธีผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมท่อปัสสาวะได้อีก 2-3 วิธี ขึ้นกับข้อบ่งชี้และความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย ภายหลังการผ่าตัด ท่อปัสสาวะอาจตีบซ้ำได้ ผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์เป็นระยะๆ เพื่อประเมินอาการแต่เนิ่นๆ
การป้องกันไม่ให้ท่อปัสสาวะตีบ สิ่ง สำคัญต้องไม่ให้เกิดภยันตรายต่อท่อปัสสาวะ การใส่สายสวนปัสสาวะที่ถูกต้องและเหมาะสม รวมทั้งการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ให้หายขาด ไม่ปล่อยให้เป็นเรื้อรัง
************iFLoWeRs***************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น