โรคหัวใจเป็นแล้วทำอย่างไรดี...
หัวใจคนเรามี 4 ห้อง แบ่งซ้าย-ขวาโดยผนังของกล้ามเนื้อหัวใจ และแบ่งเป็นห้องบน-ล่างโดยลิ้นหัวใจ
• โดยทุกๆ วัน หัวใจจะเต้นประมาณ 100,000 ครั้ง และสูบฉีดเลือดประมาณวันละ 2,000 แกลลอน
• วงจรการไหลเวียนของเลือด : จะเริ่มจาก หัวใจห้องขวาบนรับเลือดดำจากส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น แขน ขา เลือดส่วนนี้จะไหลผ่านลิ้นหัวใจไตรคัสปิด (Tricuspid) ไปยังหัวใจห้องขวาล่าง ซึ่งจะบีบตัวตามมาไล่เลือดที่เป็นเลือดดำออกไปฟอกที่ปอด โดยผ่านหลอดเลือดที่เรียกว่า Pulmonary Artery เลือดจะถูกฟอกที่ปอดโดยอาศัยการแลกเปลี่ยน gas ผ่านทางหลอดเลือดเล็กๆ ที่ผนังถุงลมของปอด จากนั้นเลือดที่เป็นเลือดแดงจะไหลมารวมกันที่หลอดเลือดใหญ่ ซึ่งเรียกว่า Pulmonary Vein เพื่อไหลกลับเข้าสู่หัวใจอีกครั้งที่ห้องซ้ายบน เลือดจะไหลจากห้องซ้ายบนมาห้องซ้ายล่าง โดยผ่านลิ้นหัวใจไมตรัล (Mitral) เมื่อเลือดแดงอยู่ในห้องหัวใจซ้ายล่างแล้วก็พร้อมที่จะถูกฉีดออกไปเลี้ยง ร่างกายทางหลอดเลือดแดงใหญ่ Aorta ผ่านลิ้นหัวใจเอออร์ติด (Aortic) เมื่อผ่านส่วนต่างๆ แล้ว เลือดจะกลับสู่หัวใจด้านขวาอีกครั้ง
โรคลิ้นหัวใจ : ที่เป็นปัญหามากที่สุดคือ ลิ้นหัวใจพิการ รูมาห์ติค ซึ่งเป็นผลจากการติดเชื้อคออักเสบ ลักษณะของการที่เกิด คือ เหนื่อยง่ายเวลาออกกำลัง อ่อนเพลีย ไอเรื้อรังและมักไอเวลากลางคืน ไอแห้ง มีอาการใจสั่น ไอเป็นเลือด เป็นลมไม่รู้สติ เจ็บหน้าอก หลอดเลือดที่คอเต้นแรง ผอมแห้ง มีอาการบวม หอบเหนื่อย นอนราบไม่ได้ การตรวจเอ็คโค่ (Echo) จะช่วยบอกถึงรายละเอียดของความผิดปกติของหัวใจได้
โรคหลอดเลือดหัวใจ : เกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากการสะสมของไขมันที่ผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบและตันในที่สุด
โรคกล้ามเนื้อหัวใจ : กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติไม่ว่าจะบีบ หรือคลายตัว กล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติ เป็นต้น ซึ่งโรคที่พบบ่อยคือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสีย เนื่องจากความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษามานาน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายบางส่วน เนื่องจากหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน เป็นต้น
อาการเจ็บหน้าอกที่เกิดจากโรคหัวใจขาดเลือด
1. เจ็บแน่นๆ อึดอัดบริเวณกลางหน้าอกอาจจะเป็นด้านซ้ายหรือทั้งสองด้าน และมักจะไม่เป็นด้านขวาด้านเดียว บางรายจะร้าวไปที่แขนซ้ายหรือทั้งสองข้าง หรือจุกแน่นที่คอ บางรายเจ็บบริเวณกรามคล้ายเจ็บฟัน
2. อาการตามข้อ 1 เกิดขึ้นขณะออกกำลัง เช่น เดินเร็วๆ รีบขึ้นบันได วิ่ง โกรธโมโห อาการดังกล่าวจะดีขึ้นเมื่อหยุดออกกำลัง
3. ในบางรายที่อาการรุนแรง อาการแน่นหน้าอกอาจเกิดขึ้นในขณะพัก เช่น นั่ง หรือ นอน หลังอาหาร
4. กรณีที่เกิดหลอดเลือดหัวใจอุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน อาการจะรุนแรงมาก อาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เหงื่อออกมาก เป็นลม อาการเช่นนี้ยังพบได้ในโรคของหลอดเลือดแดงใหญ่ปริหรือฉีก
ขาบวม : อาการขาบวมเกิดจากการที่ร่างกายมีเกลือ (โซเดียม) และน้ำคั่งอยู่ในร่างกาย โดยอาจเกิดจากโรคไตขับเกลือไม่ได้ โรคหลอดเลือดดำอุดตัน การไหลเวียนไม่สะดวก ขาดอาหาร โปรตีนในเลือดต่ำ โรคตับ ยาและฮอร์โมนบางชนิด โรคหัวใจ หรือในบางรายอาจไม่พบสาเหตุ การบวมในผู้ป่วยโรคหัวใจเกิดจากการที่หัวใจด้านขวาทำงานลดลง เลือดจากขาไม่สามารถไหลเทเข้าหัวใจด้านขวาได้โดยสะดวก จึงมีเลือดค้างที่ขามากขึ้น
ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัวผิดปกติ : เป็นผลมาจากการสะสมของไขมันและแคลเซียมในผนังของหลอดเลือดแดง ภาวะนี้เป็นความเสื่อมของหลอดเลือดที่เกิดขึ้นทั่วร่างกาย ทำให้หลอดเลือดแดงเสียความยืดหยุ่น เกิดการตีบตัน ผลที่ตามมาคือ อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ ตัน เกิดอาการเจ็บหน้าอก กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือหลอดเลือดเลี้ยงสมองตีบ ทำให้เกิดอัมพาต เป็นต้น
หากคุณมีโอกาสลองคลำหลอดเลือดแดงหรือชีพจรที่ข้อศอกด้านในหรือข้อมือของผู้ สูงอายุจะพบว่า เป็นเส้นแข็งไม่ยืดหยุ่นเหมือนวัยหนุ่มสาว ทั้งนี้เนื่องจากว่าหลอดเลือดแดงเหล่านี้เกิดการเสื่อมสภาพตามอายุ มีไขมันและหินปูน (แคลเซียม) เข้าไปสะสมอยู่ตามผนังของหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดเสียความยืดหยุ่นและแข็ง ซึ่งหินปูนนี้ไม่เกี่ยวข้องกับปริมาณแคลเซียมในเลือดหรืออาหารที่เรารับ ประทาน ความจริงแล้วมีหลายปัจจัยที่ทำให้หลอดเลือดแดงเกิดการเสื่อม เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน บุหรี่ เป็นต้น แต่ “ อายุ ” ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญมากและเราไม่อาจเลี่ยงได้ หลอดเลือดแดงที่เสื่อมนี้จะเกิดขึ้นทั่วร่างกาย ทั้งหลอดเลือดที่เลี้ยงสมอง หัวใจ ไต ฯลฯ และแน่นอนเมื่อเกิดการเสื่อมก็จะเกิดการตีบตันของหลอดเลือดเล็กๆ ตามมา เป็นผลให้เลือดเลี้ยงสมองลดลง เกิดเนื้อสมองตายเป็นบางส่วน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย ไตเสื่อม
ความดันโลหิตสูง : สาเหตุของการที่ความดันโลหิตสูงพบบ่อยเมื่อมีอายุมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากหลอดเลือดแดงแข็งตัวผิดปกติ บางส่วนเป็นผลจากการที่ไตขาดเลือดไปเลี้ยง การลดความดันโลหิตที่สูงลง ก็จะช่วยลดอัตราการเสี่ยงต่อการเกิดอัมพาตและลดปัญหาจากโรคหัวใจขาดเลือด ด้วย ความดันโลหิตในผู้ใหญ่ไม่ว่าจะอายุเท่าไรก็ตาม ควรจะน้อยกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท
หัวใจเต้นผิดจังหวะ : หัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบได้บ่อย คือ จากห้องบนหรือที่เรียกว่า atrial fibrillation (AF) ชนิดนี้พบได้ในผู้ป่วยโรคปอด โรคหัวใจขาดเลือด โรคลิ้นหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจบางชนิด โรคความดันโลหิตสูง และพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ในผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจเต้นผิดปกติชนิดนี้ อาจเกิดลิ่มเลือดเล็กๆ ขึ้นภายในหัวใจ ลิ่มเลือดเล็กๆ เหล่านี้อาจหลุดลอยไปอุดหลอดเลือดเลี้ยงสมองได้ และเป็นต้นเหตุของการเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตขึ้น
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด : อายุ พันธุกรรม การสูบบุหรี่ ไขมัน โคเลสเตอรอล ความดันโลหิตสูง ความเครียด เบาหวาน ถ้าหากมีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้มากเท่าไหร่ โอกาสที่จะเกิดโรคก็มากขึ้นเป็นทวีคูณ
**************iFLoWeRs*************
วิธีป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
โดย : อินเตอร์เน็ต
วิธีง่ายๆที่ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ เพราะมีคนเสียชีวิตจากโรคนี้ปีละไม่ต่ำกว่าแสนราย ต้องระวังเอาไว้ให้ดีล่ะ
วิธีง่ายๆที่ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ เพราะมีคนเสียชีวิตจากโรคนี้ปีละไม่ต่ำกว่าแสนราย ต้องระวังเอาไว้ให้ดีล่ะ
หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง
ไขมันคอเลสเตอรอล เป็นไขมันที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย เนื่องจากเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์สมองแต่ หากมีไขมันนี้มากเกินไป จะเกิดการสะสมของไขมัน ในผนังของหลอดเลือดได้ ไขมันที่ร้ายที่สุด คือ โคเลสเตอรอลชนิด แอล-ดี-แอล ในทางกลับกัน ไขมันโคเลสเตอรอล ชนิด เอช-ดี-แอล เป็นไขมันชนิดดี ที่ช่วยป้องกันโรคหัวใจควบคุม ระดับไขมันโคเลสเตอรอล ในเลือดไม่ให้เกิน 200 แอล-ดี-แอล ไม่เกิน 130 และ เอช-ดี-แอล ควรมากกว่า 35 (ยิ่ง มากยิ่งดี) มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรดังนั้นหลักสำคัญ ของการลดระดับไขมันในเลือด คือ การควบคุมอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่เราเห็นๆ ว่ามีไขมันสูง เช่น หมูสามชั้น เนื้อติดมัน หนังเป็ด หนังไก่ ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ กะทิ เนย พิซซ่า เบอร์เกอร์ เป็นต้น
เลิกบุหรี่
เลิกบุหรี่
ผู้ ที่สูบบุหรี่ หรือแม้แต่ผู้ได้รับควันบุหรี่สม่ำเสมอ โดยไม่ได้สูบเอง ก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดมาก การสูบบุหรี่ยังเสี่ยง ต่อการเกิดโรคอื่นอีกมากมาย ทั้งๆ ที่รู้ว่าอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น แต่ก็ยังมีผู้สูบบุหรี่อยู่อีกมากหากเลิกบุหรี่โดยเด็ดขาด พบว่าโอกาสเสี่ยงจากโรคหัวใจขาดเลือด จะลดลงเรื่อยๆ จนใกล้เคียงผู้ไม่สูบบุหรี่
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การ ออกกำลังกายที่ได้ประโยชน์ต่อหัวใจ คือ การออกกำลังกายแบบแอโรบิกหมายถึงการออกกำลังกายต่อเนื่อง เป็นจังหวะ หายใจ สม่ำเสมอ ตัวอย่างเช่น การเดินเร็วๆ วิ่ง ว่ายน้ำ ถีบจักรยาน เต้นแอโรบิค เป็นต้น ต้องทำต่อเนื่องครั้งละ 20-30 นาที 3-4 ครั้ง ต่อสัปดาห์ จึงจะเป็นประโยชน์ต่อหัวใจช่วยให้ไขมันชนิดดี คือ เอช-ดี-แอล สูงขึ้น ไขมันชนิดนี้ ช่วยลดการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือด ผลดีอย่างมากของการออกกำลังกาย คือ ช่วยให้จิตใจ แจ่มใส ไม่แก่เร็ว หุ่นดี ระบบขับ ถ่ายปกติ และทำให้ควบคุมเบาหวาน ความดันโลหิตสูงได้ดีขึ้นด้วย
**************iFLoWeRs*************
8 วิธีดูแลหัวใจตัวเอง
โดย : แอมแปร์สมาคมโรคหัวใจ อเมริการะบุว่าในปี 2004 มีผู้หญิงอเมริกันกว่า 460,000 คนมีปัญหาโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ เช่น โรคหัวใจโคโรนารี เส้นเลือดอุดตัน ความดันสูง หัวใจล้มเหลว ฯลฯ...
ด้วยเหตุนี้ ทางสมาคมจึงได้ออกมาให้คำแนะนำในการดูแลตัวเองเพื่อช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจชนิดต่างๆ ในผู้หญิงค่ะ
1. หยุดบุหรี่ตั้งแต่วันนี้ เพราะการสูบบุหรี่เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง และทำให้เลือดจับตัวกันเป็นลิ่ม ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และเส้นเลือดในสมองอุดตัน
2. ระวังเอวหนาและหน้าท้องที่ใหญ่ขึ้น จะทำให้คุณเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้นด้วย
3. ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อย 30-60 นาทีต่อวัน จะช่วยลดระดับความดันโลหิต ลดเครียด และทำให้ร่างกายได้รับโคเลสเตอรอลชนอดดี (HDL) ที่เป็นประโยชน์
4. กินพริกไทยและลดเค็ม จะช่วยลดระดับความดันโลหิตได้
5. หลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ ซึ่งไขมันอิ่มตัวจะพบในไขมันสัตว์และเนื้อแดง ส่วนไขมันทรานส์ได้จากขบวนการ Hydrogenation เพื่อให้กลายเป็นน้ำมันข้นขึ้น มีสีขาวละลายหรือปนกับน้ำง่ายและเก็บได้นานขึ้น เช่น ครีมเทียม เนยเทียม น้ำมันทอดที่ใช้ซ้ำหลายครั้ง รวมทั้งอาหารที่ใช้ไขมันประเภทนี้ค่ะ
6. อาหารหลากสี ผักและผลไม้อย่างผักโขม แครอต ลูกพีชและเบอรี่ อุดมไปด้วยวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แอนตี้ออกซิแดนส์และไฟเบอร์
7. กินปลา อย่างน้อยอาทิตย์ละ 2 ครั้ง จะช่วยให้ได้รับเป็นกรดไขมันดีที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของหัวใจ
8. ไวน์แดง พอประมาณแค่วันละ 1 แก้ว จะช่วยป้องกันโรคหัวใจได้
ข้อได้เปรียบของผู้หญิง คือ คุณจะเป็นโรคเกี่ยวกับระบบหัวใจช้ากว่าผู้ชายประมาณ 10 ปี เพราะฉะนั้น คุณจึงมีเวลามากพอที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิด ขึ้นได้มากกว่าค่ะ
**************iFLoWeRs*************
ไขมันที่มีประโยชน์กับหัวใจ...
ไขมันในอาหาร แบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ ตามลักษณะโครงสร้าง คือ ไขมันอิ่มตัว และไขมันไม่อิ่มตัว พบมากในไขมันสัตว์ หนังสัตว์ นมไขมันเต็ม และผลิตภัณฑ์ เช่น เนย ชีส โยเกิต
และ ยังพบมากในน้ำมันพืชบางชนิด เช่น กระทิ น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันปาล์ม การบริโภคไขมันชนิดนี้มากเกินไปจะทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มขึ้น และมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด ดังนั้นการหลีกเลี่ยงไขมันในกลุ่มนี้จะช่วยลดการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้
ไขมันไม่อิ่มตัว แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ
- ไขมันไม่อิ่มตัวหนึ่งตำแหน่ง พบมากในน้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันรำข้าว และถั่วเปลือกแข็ง เช่น ถั่วลิสง เม็ดมะม่วงหิมพานต์
- ไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง พบ มากในไขมันที่มาจากพืช เช่น น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันข้าวโพด น้ำมันตอกทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง และไขมันจากปลาโดยเฉพาะไขมันจากปลาทะเล
ข้อเท็จจริงของการเกิดโรคหัวใจที่ท่านควรทราบ
โรคหัวใจที่พบได้บ่อยและทำให้เกิดความพิการหรืออัมพาต ได้แก่ โรคที่เกี่ยวกับการตีบตันของเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจ ซึ่งในปัจจุบันเป็นมัจจุราชที่มีส่วนในการทำให้คนในวัยกลางคนขึ้นไป ต้องเสียชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ ในทุกๆ ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ประชากรมีความเป็นอยู่ดีขึ้น
การศึกษาวิจัยที่มีเผยแพร่ออกมาตลอดเวลา ทำให้เรามีความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้นในเรื่องของหลอดเลือดที่เกิดมีการตีบตัน และขาดความยืดหยุ่น โดยให้ข้อสรุปไว้ดังนี้
การที่หลอดเลือดมีไขมันมาพอกที่ผนังภายในหลอดเลือด จนกระทั่งเกิดการตีบและขาดความยืดหยุ่นนั้น ในปัจจุบันสามารถพบได้ตั้งแต่คนอายุยังน้อย เช่นในวัยรุ่นเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ
คนส่วนใหญ่ที่มีหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจเปลี่ยนแปลงไปแล้ว มักจะไม่มีอาการแสดงออกใดๆ เลย และตามสถิติพบว่า มีผู้ป่วยถึง 1 ใน 3 ที่เสียชีวิตทันที ภายหลังที่มีอาการครั้งแรกเท่านั้น
หาก ปล่อยให้กล้ามเนื้อหัวใจได้ผลกระทบ จากการที่เลือดมาเลี้ยงไม่เพียงพอ จนกระทั่งเกิดมีแผลเป็นอยู่ในกล้ามเนื้อหัวใจแล้ว ก็จะเป็นการยากที่จะแก้ไขให้หัวใจกลับมาทำงานได้ 100% เหมือนเดิม ทำให้ความสามารถในการสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายลดน้อยลงไป
ดังนั้น กลยุทธิ์ที่ดีที่สุดสำหรับท่าน เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาเรื่องโรคหัวใจ ที่มีสาเหตุจากการขาดเลือดมาเลี้ยง ก็คือการป้องกัน แทนที่จะรอให้โรคเกิดจนมีอาการแล้ว
**************iFLoWeRs*************
ไตรกลีเซอไรด์...ไขมันตัวร้าย
ไขมันในเลือดชนิด หนึ่งที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและสุขภาพของเรา นั่นก็คือ ไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อโรคหัวใจ และผู้หญิงที่มีไตรกลีเซอไรด์สูงเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมอีก ด้วย......
ไตรกลีเซอไรด์สูง : เสี่ยงโรคหัวใจ& มะเร็งเต้านม
ไขมันชนิดนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเสื่อมของหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด อัมพาต อัมพฤกษ์ ได้เช่นเดียวกับการมีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ไตรกลีเซอไรด์ปริมาณสูงทำให้เลือดข้นเหนียวขึ้น เกิดการจับตัวกันเป็นลิ่มและอุดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะหัวใจและสมอง
ระดับไตรกลีเซอไรด์ที่สูงมากๆ อาจจะทำให้เกิดโรคตับอ่อนอักเสบได้ ในผู้หญิงระดับไตรกลีเซอไรด์ที่สูงทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม สูงขึ้นด้วย เพราะไตรกลีเซอไรด์ที่สูงจะไปกระตุ้นให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ไหลเวียน อยู่สูงขึ้นด้วย ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเป็นมะเร็งเต้านม
7 วิธีลดเสี่ยงจากไตรกลีเซอไรด์
ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดปกติไม่ควรเกิน 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และถ้าพบว่าสูงมากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ควรควบคุมโดยการคุมอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล อาหารที่มีไขมันมาก และงดสูบบุหรี่
รวมถึงลดการบริโภคแอลกอฮอล์ทุกประเภท และถ้าคุณเป็นอีกคนที่อยากลดความเสี่ยงกับการมีไตรกลีเซอไรด์สูง ก็ควรปรับไสฟ์สไตล์และดูแลสุขภาพตัวเองดังนี้ค่ะ
1.ระวังแป้งและน้ำตาล
ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงผิดปกติเกิดจากการได้รับพลังงานหรือแคลอรีมากเกินไป การกินขนมหวาน หรือกินอาหารที่ทำจากแป้งมากเกินไปทำให้ร่างกายสร้างไตรกลีเซอไรด์แล้วขับ เข้าสู่กระแสเลือดมากเกินไป จึงควรลดปริมาณอาหารที่ให้แคลอรี่สูง เช่น ของหวานหรืออาหารที่มีน้ำตาลมาก รวมถึงอาหารจำพวกแป้งด้วย หรืออาจจะเลือกกินคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน หรือประเภทที่มีกากใยอาหาร เช่น ข้าวซ้อมมือ เมล็ดธัญพืชไม่ขัดสีแทนอาหารจำพวกแป้งขัดสีที่กินอยู่เป็นประจำก็ได้เช่นกัน
2.ครบ 3 มื้อ
ไม่ควรงดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่งโดยเฉพาะมื้อเช้า ควรกินมื้อเช้าให้อิ่ม เพราะพลังงานที่ได้จากมื้อเช้าจะถูกนำไปใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ ตลอดวัน การกินอาหารมื้อเช้าให้พลังงานประมาณ 1 ใน 4 ของพลังงานที่ร่างกายต้องการใน 1 วัน ซึ่งเท่ากับปริมาณพลังงานที่ควรได้รับในมื้อเย็น ที่เหลือประมาณครึ่งหนึ่งควรได้จากมื้อกลางวัน และอาหารว่างมื้อเล็กๆ การรับประทานอาหารแบบนี้จะทำให้ไม่มีพลังงานเหลือนำไปสร้างเป็นไตรกลีเซอไร ด์ได้
3.ถูกสัดส่วน
อาหารแต่ละมื้อควรมีสัดส่วนของโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมันในปริมาณพอเหมาะ ไม่ควรกินอาหารจำพวกนี้มากเกินไป ควรหลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง เนื้อสัตว์ติดมัน นอกจากนี้ควรกินปลา ผักผลไม้ และอาหารที่มีกากใยให้ได้ครบในแต่ละวัน
4.ควบคุมไขมัน
การลดอาหารไขมันช่วยทำให้ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดลดลงได้ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารทอดหรือผัดที่ใช้น้ำมันมากในการประกอบอาหาร รวมทั้งไขมันจากอาหารต่างๆ เช่น เนย มาการีน น้ำมันพืช กะทิ หรือไขมันสัตว์ ยกเว้นไขมันจากปลาทะเลที่มีกรดไขมันโอเมกา 3 (omega-3)
จากการศึกษาวิจัยพบว่า กรดไขมันโอเมกา ช่วยลดการสังเคราะห์ไตรกลีเซอไรด์ในตับได้ ดังนั้นใครที่มีปัญหาไตรกลีเซอไรด์สูง หากได้กินปลาทะเล ไม่ควรทอดนะคะ ควรปรุงด้วยวิธีการนึ่ง 2-3 มื้อต่อสัปดาห์ จะช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้ค่อนข้างดี
5.งดบุหรี่และแอลกอฮอล์
การสูบบุหรี่ และดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะไปกระตุ้นตับให้ผลิตไตรกลีเซอไร ด์มากขึ้น และยังทำให้การเคลื่อนย้ายไขมันออกจากเลือดได้ช้ากว่าปกติด้วย ดังนั้นควรงดสูบบุหรี่ งดการดื่มเบียร์ เหล้า หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างๆ
6.ควบคุมน้ำหนักตัว
ภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ยังพบได้บ่อยในคนอ้วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งอ้วนแบบลงพุงกะทิ ฉะนั้นถ้ามีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานควรพยายามลดน้ำหนักตัวลงบ้าง ไม่ได้หมายความว่าต้องผอมบางอย่างดารานางแบบนะคะ เพียงแต่พยายามลดน้ำหนักตัวลงให้ได้ร้อยละ 5-10 จากน้ำหนักเดิม และการลดน้ำหนักที่ดีที่สุดคือ การควบคุมปริมาณอาหาร ร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอค่ะ
7.ระวังยา
การกินยาบางชนิดอาจทำให้ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงขึ้นได้ เช่น ยาขับปัสสาวะ ไธอาไซด์ ฮอร์โมนเพศหญิง ยาคุมกำเนิดบางชนิด หากต้องกินยาเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์ และมีการตรวจระดับไตรกลีเซอไรด์อย่างสม่ำเสมอ
8.ออกกำลังกาย
ควรทำตัวกระฉับกระเฉงอยู่เสมอ การได้ออกกำลังกายระดับปานกลางวันละอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง 3-4 วันต่อสัปดาห์ จะช่วยเผาผลาญแคลอรีได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือหากไม่มีโอกาสไปออกกำลังกายอย่างจริงจัง การเดินหรือทำงานบ้านให้ได้เหงื่อสักเล็กน้อยทุกวันนั้นก็ดีต่อสุขภาพ และช่วยป้องกันได้อีกหลายโรคเลยล่ะค่ะ
หลายๆ คนอาจจะกลัวว่าไขมันจะทำให้เสียหุ่นสวย แต่เอาเข้าจริงแล้วไขมันร้ายอย่างไตรกลีเซอไรด์มีพิษสงร้ายกาจที่น่ากลัว มากกว่าที่คิด เพราะฉะนั้นต้องใส่ใจดูแลสุขภาพกันให้ดีจะได้ห่างไกลโรคค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น