โดย : นพ.อุดม คชินทร
ในบางครั้ง เวลาปวดท้องมักจะได้รับคำถามเสมอว่า เป็นโรคกระเพาะอาหารหรือไม่ เรามาดูกันว่า อาการของโรคกระเพาะเป็นอย่างไร และมีวิธีการดูแล ป้องกันอย่างไร
คนทั่วไปจะเข้าใจว่าอาการปวดท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่โดยเฉพาะที่มีปวดเรื้อรัง มานานว่าเป็นโรคกระเพาะอาหาร แท้จริงแล้วอาการปวดท้องอาจเกิดจากโรคอื่นๆ ภายในช่องท้องอีกมากมาย เช่น โรคระบบทางเดินน้ำดี โรคตับอ่อน เป็นต้น
โรคกระเพาะอาการเป็นกลุ่มโรคที่พบบ่อย ที่สำคัญได้แก่ โรคแผลในกระเพาะอาหาร และ โรคกระเพาะอาหารอักเสบ
โรคแผลกระเพาะอาหาร
อาการสำคัญ
- ปวดหรือจุกแน่นท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือ หน้าท้องช่วงบน เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด มักเป็นเวลาท้องว่า หรือเวลาหิว อาการจึงเป็นเฉพาะบางช่วงเวลาของวัน
- อาการปวดแน่นท้อง มักจะบรรเทาได้ด้วยอาหารหรือยาลดกรด
- อาการปวด มักจะเป็นๆหายๆ โดยมีช่วงเว้นที่ปลอดอาการค่อนข้างนาน เช่น ปวดอยู่ 1-2 สัปดาห์ แล้วหายไปหลายเดือนจึงกลับมาปวดอีก
- ปวดแน่นท้องกลางดึกหลังจากที่หลับไปแล้ว
- แม้จะมีอาการเรื้อรังเป็นปี สุขภาพโดยทั่วไปจะไม่ทรุดโทรม
- โรคแผลกระเพาะอาหารจะไม่กลายเป็นมะเร็ง แม้จะเป็นๆ หายๆ อยู่นานกี่ปีก็ตาม นอกจากจะเป็นแผลชนิดที่เกิดจากโรคมะเร็งของกระเพาะอาหารตั้งแต่แรกเริ่มโดย ตรง
ภาวะแทรกซ้อน
1. เลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหาร พบได้บ่อยที่สุด ผู้ป่วยจะมีอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำเหลว หรือหน้ามืด วิงเวียน เป็นลม
2. กระเพาะอาหารทะลุ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องช่วงบนเฉียบพลันรุนแรง หน้าท้องแข็งตึง กดเจ็บมาก
3. กระเพาะอาหารอุดตัน ผู้ป่วยจะกินได้น้อย อิ่มเร็ว มีอาเจียนหลังอาหารเกือบทุกมื้อ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง
หลักการปฏิบัติตัว
พึงระลึกไว้เสมอว่า โรคแผลกระเพาะอาหารเป็นโรคเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ มักไม่หายขาดตลอดชีวิต ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยารักษาติดต่อกันเป็นเวลานาน หลังได้รับยา อาการปวดจะหายไปก่อน ใน 3-7 วัน แต่แผลจะยังไม่หาย ส่วนใหญ่ใช้เวลาถึง 4-8 สัปดาห์ แผลจึงหาย เมื่อหายแล้ว จะกลับมาเป็นใหม่ได้อีกถ้าไม่ระวังปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง ได้แก่
- กินอาหารอ่อน ย่อยง่าย
- กินอาหารตรงตามเวลาทุกมื้อ
- กินอาหารจำนวนน้อยๆ แต่กินให้บ่อยมื้อ ไม่ควรกินจนอิ่มมากในแต่ละมื้อ
- หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด สุรา
- งดสูบบุหรี่
- งดการใช้ยาแก้ปวด แอสไพริน และยาแก้โรคกระดูกและข้ออักเสบทุกชนิด
- ผ่อนคลายความเครียด กังวล พักผ่อนให้เพียงพอ
- กินยาลดกรด หรือยารักษาแผลกระเพาะอาหารติดต่อกันอย่างน้อย 4-8 สัปดาห์
- ถ้ามีอาการของภาวะแทรกซ้อน ต้องรีบไปพบแพทย์
โรคกระเพาะอาหารอักเสบ
เป็นการอักเสบของเยื่อบุด้านในกระเพาะอาหารเพียงส่วน หรือบางบริเวณเท่านั้น แบ่งเป็น
1. โรคกระเพาะอาหารอักเสบชนิดเฉียบพลัน หมายถึง โรคที่เป็นในระยะสั้นๆ ไม่เกิน 1-2 สัปดาห์ก็หาย อาการสำคัญ คือ จะปวดท้องหรือจุกแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่ มักเป็นเวลากินอาหาร หรือหลังอาหารเล็กน้อย คลื่นไส้ อาเจียน ในรายที่รุนแรง จะมีอาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายอุจจาระสีดำได้ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย สาเหตุที่พบบ่อย คือ จากอาหารเป็นพิษ พิษสุรา และจากยาที่มีฤทธิ์ระคายเยื่อบุกระเพาะอาหาร เช่น ยาแอสไพริน และยาแก้โรคกระดูกและข้ออักเสบ
2. โรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง หมายถึง โรคที่เป็นนานเป็นเดือนหรือเป็นปี ผู้ป่วยมักมีอาการไม่มากหรือแทบไม่มีอาการอะไรเลย นอกจากแน่นท้องเป็นๆ หายๆ เท่านั้น หลักการปฏิบัตตัวเหมือนผู้ป่วยแผลกระเพาะอาหาร
ในบางครั้ง เวลาปวดท้องมักจะได้รับคำถามเสมอว่า เป็นโรคกระเพาะอาหารหรือไม่ เรามาดูกันว่า อาการของโรคกระเพาะเป็นอย่างไร และมีวิธีการดูแล ป้องกันอย่างไร
คนทั่วไปจะเข้าใจว่าอาการปวดท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่โดยเฉพาะที่มีปวดเรื้อรัง มานานว่าเป็นโรคกระเพาะอาหาร แท้จริงแล้วอาการปวดท้องอาจเกิดจากโรคอื่นๆ ภายในช่องท้องอีกมากมาย เช่น โรคระบบทางเดินน้ำดี โรคตับอ่อน เป็นต้น
โรคกระเพาะอาการเป็นกลุ่มโรคที่พบบ่อย ที่สำคัญได้แก่ โรคแผลในกระเพาะอาหาร และ โรคกระเพาะอาหารอักเสบ
โรคแผลกระเพาะอาหาร
อาการสำคัญ
- ปวดหรือจุกแน่นท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือ หน้าท้องช่วงบน เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด มักเป็นเวลาท้องว่า หรือเวลาหิว อาการจึงเป็นเฉพาะบางช่วงเวลาของวัน
- อาการปวดแน่นท้อง มักจะบรรเทาได้ด้วยอาหารหรือยาลดกรด
- อาการปวด มักจะเป็นๆหายๆ โดยมีช่วงเว้นที่ปลอดอาการค่อนข้างนาน เช่น ปวดอยู่ 1-2 สัปดาห์ แล้วหายไปหลายเดือนจึงกลับมาปวดอีก
- ปวดแน่นท้องกลางดึกหลังจากที่หลับไปแล้ว
- แม้จะมีอาการเรื้อรังเป็นปี สุขภาพโดยทั่วไปจะไม่ทรุดโทรม
- โรคแผลกระเพาะอาหารจะไม่กลายเป็นมะเร็ง แม้จะเป็นๆ หายๆ อยู่นานกี่ปีก็ตาม นอกจากจะเป็นแผลชนิดที่เกิดจากโรคมะเร็งของกระเพาะอาหารตั้งแต่แรกเริ่มโดย ตรง
ภาวะแทรกซ้อน
1. เลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหาร พบได้บ่อยที่สุด ผู้ป่วยจะมีอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำเหลว หรือหน้ามืด วิงเวียน เป็นลม
2. กระเพาะอาหารทะลุ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องช่วงบนเฉียบพลันรุนแรง หน้าท้องแข็งตึง กดเจ็บมาก
3. กระเพาะอาหารอุดตัน ผู้ป่วยจะกินได้น้อย อิ่มเร็ว มีอาเจียนหลังอาหารเกือบทุกมื้อ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง
หลักการปฏิบัติตัว
พึงระลึกไว้เสมอว่า โรคแผลกระเพาะอาหารเป็นโรคเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ มักไม่หายขาดตลอดชีวิต ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยารักษาติดต่อกันเป็นเวลานาน หลังได้รับยา อาการปวดจะหายไปก่อน ใน 3-7 วัน แต่แผลจะยังไม่หาย ส่วนใหญ่ใช้เวลาถึง 4-8 สัปดาห์ แผลจึงหาย เมื่อหายแล้ว จะกลับมาเป็นใหม่ได้อีกถ้าไม่ระวังปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง ได้แก่
- กินอาหารอ่อน ย่อยง่าย
- กินอาหารตรงตามเวลาทุกมื้อ
- กินอาหารจำนวนน้อยๆ แต่กินให้บ่อยมื้อ ไม่ควรกินจนอิ่มมากในแต่ละมื้อ
- หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด สุรา
- งดสูบบุหรี่
- งดการใช้ยาแก้ปวด แอสไพริน และยาแก้โรคกระดูกและข้ออักเสบทุกชนิด
- ผ่อนคลายความเครียด กังวล พักผ่อนให้เพียงพอ
- กินยาลดกรด หรือยารักษาแผลกระเพาะอาหารติดต่อกันอย่างน้อย 4-8 สัปดาห์
- ถ้ามีอาการของภาวะแทรกซ้อน ต้องรีบไปพบแพทย์
โรคกระเพาะอาหารอักเสบ
เป็นการอักเสบของเยื่อบุด้านในกระเพาะอาหารเพียงส่วน หรือบางบริเวณเท่านั้น แบ่งเป็น
1. โรคกระเพาะอาหารอักเสบชนิดเฉียบพลัน หมายถึง โรคที่เป็นในระยะสั้นๆ ไม่เกิน 1-2 สัปดาห์ก็หาย อาการสำคัญ คือ จะปวดท้องหรือจุกแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่ มักเป็นเวลากินอาหาร หรือหลังอาหารเล็กน้อย คลื่นไส้ อาเจียน ในรายที่รุนแรง จะมีอาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายอุจจาระสีดำได้ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย สาเหตุที่พบบ่อย คือ จากอาหารเป็นพิษ พิษสุรา และจากยาที่มีฤทธิ์ระคายเยื่อบุกระเพาะอาหาร เช่น ยาแอสไพริน และยาแก้โรคกระดูกและข้ออักเสบ
2. โรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง หมายถึง โรคที่เป็นนานเป็นเดือนหรือเป็นปี ผู้ป่วยมักมีอาการไม่มากหรือแทบไม่มีอาการอะไรเลย นอกจากแน่นท้องเป็นๆ หายๆ เท่านั้น หลักการปฏิบัตตัวเหมือนผู้ป่วยแผลกระเพาะอาหาร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น