- ประโยชน์ของบร็อคโคลี่

คุณค่าและประโยชน์บร็อคโคลี่

บร็อคโคลี่ สรรพคุณ และ ประโยชน์
     บร็อคโคลี่อีกหนึ่งผักสีเขียวที่มีสรรพคุณและประโยชน์นานา ๆ เลยทีเดียวค่ะ ใครที่ไม่ชอบทาน บร็อคโคลี่ คงต้องมาดูข้อมูล บร็อคโคลี่ สรรพคุณและประโยชน์กันแล้วล่ะค่ะว่า เจ้าผักบร็อคโคลี่เนี่ยจะให้ประโยชน์อะไรแก่ร่างกายของเราได้บ้าง แต่ขอบอกเลยค่ะว่า ถ้าคุณ ๆ ได้อ่านยิ่งโดยสาว ๆ ด้วยแล้วได้รู้ สรรพคุณของบร็อคโคลี่ และ ประโยชน์ของบร็อคโคลี่ แล้ว รับรองว่าคุณจะต้องชอบทาน บร็อคโคลี่ กันทุกวันอย่างแน่นอนเลยค่ะ นั้นเรามาดูสรรพคุณและประโยชน์ของบร็อคโคลี่กันเลยดีกว่าค่ะ

สรรพคุณ / ประโยชน์ บร็อคโคลี่

      ใครที่ไม่ชอบกินบร็อคโคลี่ฟังทางนี้ ในบร็อคโคลี่มีสารที่เรียกว่า ซัลโฟราเฟน (sulforaphane) ซึ่งเป็นสารป้องกันโรคมะเร็ง บร็อคโคลี่ 1 ถ้วยตวง ให้วิตามินซีมากถึง 13% ของปริมาณวิตามินซีที่เราควรรับประมทานต่อวันและบร็อคโคลี่ก็อุดมไปด้วย
เบ ต้า-แคโรทีน นอกจากจะเป็นแหล่งวิตามินเอทีสำคัญ บร็อคโคลี่ ยังมีธาตุซีลีเนียมที่มีสรรพคุณช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้ผิวหนังอีกด้วย ดังนั้น การรับประทานบร็อกโคลี่เป็นประจำจะช่วยชะลอผิวพรรณไม่ให้เหี่ยวย่นง่ายดู อ่อนกว่าวัยเป็นหนุ่มสาวอยู่ตลอดเวลา
- ช่วยป้องกันมะเร็ง
- อุดมด้วยวิตามินซี สารแอนตี้ออกซิแดนท์ ที่ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระในร่างกายและยังช่วยให้ผนังเส้นเลือดแข็งแรงอีกด้วย
- ประกอบด้วยสาร glutathione ซึ่งช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดไขข้ออักเสบ เบาหวาน และโรคหัวใจ และนอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย ลดระดับคลอเลสเตอรอล และช่วยลดความดันโลหิตสูง
- ป้องกันการเกิดต้อกระจก เนื่องจากบร็อคโคลี่จะมีสารเบต้าแคโรทีนสูงโดยเฉพาะสาร lutein
- ขนาดรับประทาน บร็อคโคลี่ 1/2 ถ้วย ต่อสัปดาห์ ก็จะดีต่อสุขภาพของคุณแล้วละค่ะ

**ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.hospital.moph.go.th ขอขอบคุณรูปภาพจากอินเตอร์เน็ต**

***********iFLoWeRs*************

เกี่ยวกับ บร็อคโคลี่
     บร็อคโคลี่ จัดเป็นพืชผักตระกูลกะหล่ำ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Brassica oleraceae var. italica บร็อคโคลี่เป็นผักที่ปลูกเพื่อ บริโภคส่วนของดอกอ่อน และก้าน ส่วนของดอกบร็อคโคลี่ จะมีสีเขียวประกอบด้วย ดอกย่อยขนาดเล็กสีเขียว เป็นจำนวนมาก ที่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ มีลักษณะแน่น แต่ไม่อัดตัวกันแน่น เหมือนดอกกะหล่ำ บร็อคโคลี่มีถิ่นกำเนิด อยู่ทางตอนใต้ ของยุโรป แถบประเทศอิตาลี นำเข้ามาปลูกในเมืองไทย โดยปลูกในพื้นที่ภาคเหนือ ของประเทศไทย เนื่องจากเป็นผัก ชนิดใหม่ และปลูกได้ดี ในช่วงหน้าหนาว ทำให้ราคาค่อนข้างแพง ปัจจุบันมีการพัฒนาสายพันธุ์ ให้ทนร้อนมากขึ้น ทำให้สามารถผลิตได้ดี เฉพาะบนที่สูง หากมีการเลือกใช้สายพันธุ์ ที่เหมาะสม

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

บร็อคโคลี่ ต้องการสภาพแวด ล้อม ที่คล้ายคลึงกับกะหล่ำดอกทั่วไป คือชอบดินร่วน มีค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ระหว่าง 6-6.5 มีความชื้นดินที่เหมาะสม และได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่

การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร

บร็อคโคลี่ มีรสชาติหวาน กรอบ สามารถนำมาประกอบอาหาร ได้หลายชนิด และมีคุณค่าทางอาหารสูง ชึ่งเชื่อกันว่า มีสารที่สามารถ ต่อต้านสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง

การปฏิบัติดูแลรักษาระยะต่างๆของการเจริญเติบโ๋ต

การเตรียมดิน
ขุดดินลึก 10-15 เซนติเมตร พลิกดินตากแดด และโรยปูนขาว อัตรา 0-100 กรัม/ตร.ม. ทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน ย่อยพรวนดินให้เป็นก้อนเล็กๆ ขึ้นแปลงกว้าง 1-1.2 เมตร ความยาวตามพื้นที่ปลูก
การเตรียมกล้า
- เพาะเมล็ดในกระบะที่มีส่วนผสมระหว่างทรายและขุยมะพร้าว อัตราส่วน 2:1 เมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ 5 วัน จึงย้ายไปปลูกในถาดหลุม ที่ใส่วัสดุเพาะ(Media)
- หยอดเมล็ดลงในถาดหลุมเพาะกล้า โดยตรงหลังจากต้นกล้า บร็อคโคลี่มีอายุประมาณ 25 วัน หรือมีใบจริง อย่างน้อย 2-3 ใบ จึงทำการย้ายปลูก (หากต้นกล้าเหลือง หรือก่อนย้ายปลูก 1 สัปดาห์ ควรพ่นปุ๋ยทางใบเสริม)
การปลูก  
ขุดดินตากแดด อย่างน้อย 14 วัน ขึ้นแปลงกว้าง 1-1.2 เมตร สำหรับฤดูฝน ให้แปลงสูงกว่าปกติ 30-50 ซม. เพื่อการระบายน้ำ รองพื้นด้วยปุ๋ยเคมี 12-24-12 อัตรา 30 กรัม/ตร.ซม. หรือ 50 กก./ไร่ ใ่ส่ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยคอก อัตรา 2-4 กิโลกรัม/ตรม. เมื่ออายุได้ 45 วัน ควรใส่ปุ๋ยอีกครั้งหนึ่ง
ช้อควรระวัง
  1. บร็อคโคลี่เป็นพืชที่มีความต้องการปุ๋ยมาก โดยเฉพาะปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก
  2. ควรรองพื้นก่อนปลูกด้วยโรแรกซ์
การให้น้ำ 
ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอโดยใช้สปริงเกอร์

การให้ปุ๋ย
ประมาณ 5-7 วัน ควรมีการปลูกซ่อมกล้าที่ตาย เมื่อย้ายปลูกได้ 7-10 วัน ใส่ปุ๋ย 15-15-15 และ 21-0-0 อย่างละ 20-25 กรัม/ตร.ม. และใ่ส่ปุ๋ยครั้่งที่ 2 เมื่ออายุได้ 25-30 วัน และใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 เมื่อเริ่มเข้าหัว มีอายุ 45-50 วัน พร้อมกำจัดวัชพืช แล้วพ่นสารเคมี ป้องกันศัตรูพืช ถ้ามีพบการเข้าทำลายของศัตรูพืช

ข้อควรระวัง
  1. ควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ฝนตกชุก และมีน้ำขัง แสงแดดน้อย
  2. เป็นพืชที่ต้องการปุ๋ยในปริมาณที่มาก หากปุ๋ยไม่เพียงพอจะ ทำให้อายุการเติบโต ยาวนานมากขึ้น
การเก็บเกี่ยว อายุ 90-100 วัน ตามฤดูกาลและสายพันธุ์

โรคแมลงศัตรูที่สำคัญในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต

ระยะกล้า 18-21วัน ด้วงหมัดผัก, เพลี้ยอ่อน, โรคราน้ำค้าง, โรคเน่าดำ, โรคโคนเน่า, โรคโคนเน่า,
ระยะย้ายปลูก-ตั้งตัว 21-28 วัน ด้วงหมัดผัก, หนอนใยผัก, เพลี้ยอ่อน, หนอนคืบ, หนอนกระทู้, โรคราน้ำค้าง, โรคเน่าดำ,
ระยะเข้าหัว 40-45 วัน หนอนใยผัก, เพลี้ยอ่อน, หนอนคืบ, หนอนกระทู้, โรคราน้ำค้าง, โรคใบจุด, โรคเน่าดำ,
ระยะโตเต็มที่ 45-50 วัน หนอนใยผัก, เพลี้ยอ่อน, หนอนคืบ, หนอนกระทู้, โรคราน้ำค้าง, โรคใบจุด, โรคเน่าดำ


***********iFLoWeRs*************


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น