- ประโยชน์ของบอระเพ็ด


ต้นบอระเพ็ด**คุณค่าและประโยชน์ของบอระเพ็ด**

เมื่อพูดถึงคำว่า "หวานเป็นลม ขมเป็นยา" คุณมักจะต้องคิดถึงอะไรค่ะ ฮันแน่! .. ของมันแน่ต้องคิดถึงสมุนไพร บอระเพ็ดกันใช่ไหมล่ะ...อิอิอิ ใครที่เคยลองลิ้มชิมรส บอระเพ็ด กันแล้วคงจะต้องนึกถึงรสชาติขม ๆ ของมันเป็นแน่ แต่ก็เอาเถอะก็อย่างที่บอกนั้นแหละ ขมเป็นยา...อิอิอิ มาดูกันดีกว่าค่ะว่าเป็นยาอย่างไรกับ สรรพคุณ และ ประโยชน์ของบอระเพ็ด

สรรพคุณ / ประโยชน์ บอระเพ็ด


เกร็ดความรู้
บอระเพ็ด เป็นไม้เลื้อยที่พบโดยทั่วไปตามป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณและสามารถปลูกได้ง่าย แม้แต่ตัดเถาไปห้อยตามต้นไม้ก็ยังงอกรากลงดินได้ คนไทยทุกภาคเชื่อว่าบอระเพ็ดเป็นยาบำรุงสุขภาพเป็นยาอายุวัฒนะบำรุงกำลัง ช่วยขับน้ำย่อยทำให้เจริญอาหาร คนโบราณหาทางกินบอระเพ็ดได้หลายวิธี เช่น ใช้ดองน้ำผึ้งกินเป็นประจำเป็นยาอายุวัฒนะกินแล้วร่างกายแข็งแรงไม่เจ็บป่วย ง่าย ผู้ป่วยเบาหวานพบว่าการกินร่วมกับยาแผนปัจจุบันสามารถควบคุมปริมาณน้ำตาลได้ ดีมาก (แต่ไม่ได้งดยาแผนปัจจุบัน) บางคนผมร่วงกินผงบอระเพ็ดวันละ 400 ถึง 800 มิลลิกรัม(1 ถึง 2แคปซูล) สัก 1 เดือนผมมีแนวโน้มที่จะดกหนาตามปกติ บางคนที่ผมหงอกก่อนวัยกินแล้วพบว่าผมหงอกน้อยลง

สรรพคุณบอระเพ็ดที่ ชาวบ้านใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ การตำบอระเพ็ดทั้งใบและต้นคั้นน้ำผสมน้ำซาวข้าวชโลมผมทิ้งไว้เพื่อแก้ปัญหา เรื่องเส้นผมและหนังศรีษะ แก้ผมหงอกก่อนวัย แก้รังแค รายงานการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่า บอระเพ็ดมีสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งการมีฤทธิ์เช่นนี้ก็สามารถ ป้องกันความชราของเซลล์ต่าง ๆ จึงเป็นไปได้ที่บอระเพ็ดจะมีประโยชน์ต่อเส้นผมอย่างที่โบราณเขาเชื่อกันจริง ๆ

บอระเพ็ด


ผลงานการวิจัย
1. ฤทธิ์ ลดระดับน้ำตาลในเลือดพบว่าสารสกัดจากลำต้นบอระเพ็ดด้วย 95% เอธานอล มีฤทธิ์ทำให้ oral glucose tolerance (OGT) ของหนูขาวปกติดีขึ้นเมื่อเปรียบกับกลุ่มควบคุมโดยระดับน้ำตาลจะลดลง 12.15% และ 12.84% หลังจากป้อนสารสกัดให้กับหนูขาว 4 และ 6 ชั่วโมงตามลำดับ อย่างไรก็ตามสารสกัดดังกล่าวไม่มีผลลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูขาวปกติในทุก ๆ ความเข้มข้นที่ใช้ทดลอง (กัลยาและคณะ,2541) สารสกัดจากชั้นน้ำของลำต้นบอระเพ็ดสามารถลดระดับกลูโคสในเลือดและเพิ่มระดับ insulin ในเลือดในหนูที่เป็นเบาหวานได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบ คุมแต่ไม่มีผลในหนูปกติ(Noorandcroft,1989) กลไกในการออกฤทธิ์ของสารสกัดจากบอระเพ็ดพบว่าออกฤทธิ์โดยการกระตุ้นการหลั่ง insulin ที่เบตาเซลล์ทำให้เบตาเซลล์มีความไวต่อความเข้มข้นของ Ca2+ ภายนอกเซลล์ส่งเสริมให้เกิดการสะสมของ Ca2+ใน เซลล์และทำให้เกิดการหลั่งของ insulin โดยไม่รบกวนการดูดซึมของกลูโคสจากทางเดินอาหารและไม่รบกวนการนำกลูโคสเข้า peripheral cell

2. ฤทธิ์ลดไข้มีรายงานการศึกษาฤทธิ์ลดไข้ของสารสกัด จากชั้นน้ำของลำต้นบอระเพ็ดในหนูขาวเพศผู้ที่ถูชักนำให้เกิดไข้ด้วยวัคซีน ไทฟอยด์ขนาด 0.6ml./ตัวพบว่าสารสกัดบอระเพ็ดขนาด 300,200,100 mg./kg. น้ำหนักตัวสามารถลดไข้ได้หลังป้อนสารสกัดบอระเพ็ดในชั่วโมงที่1,2 และตามลำดับแต่มีประสิทธิภาพอ่อนกว่า แอสไพริน (บุญเทียมและคณะ,1994)

3. ฤทธิ์ช่วยเจริญอาหารเนื่องจากความขมของบอระเพ็ดจึงสามารถใช้เป็นยาที่ทำให้เจริญอาหารได้ (รุ่งระวีและคณะ,2529)

4. ฤทธิ์ ในการต้านอนุมูลอิสระมีรายงานการศึกษาฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของบอระเพ็ด พบว่าสารสกัด 3 ชนิด ได้แก่ N-trans-feruloyltyramine, N-cisferuloyltyramine, secoisolariciresinol มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระมากกว่า BHT ซึ่งใช้เป็นสารมาตรฐาน (Cavin et al.,1997)

5. ฤทธิ์ ในการต้านมาลาเรียมีรายงานการ ศึกษาฤทธิ์ในการต้านมาลาเรียของสารสกัดในชั้นเมธานอลและคลอโรฟอร์มพบว่าไม่ มีฤทธิ์ในการต้านมาลาเรีย (Rahman etal.,1999)

6. ฤทธิ์ในการต้าน เชื้อแบคทีเรียมีการศึกษาฤทธิ์ในการต้านแบคทีเรียของสารสกัดจากใบและลำต้นใน ชั้นเอธานอลของบอระเพ็ดต่อเชื้อ Staphylococcus aureus beta-Streptococcus gr.A Klebsiella pneumoniae และ Pseudomonas aeruginosa พบว่าสารสกัดจากชั้นเอธานอลของลำต้นบอระเพ็ดมีฤทธิ์ในการต้าน betastreptococcus gr.A (Laorpaksa et al., 1988) พิษวิทยา

ใบบอระเพ็ด


การทดสอบความเป็นพิษ(Chavalittumrong,1997)
- การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันจากการศึกษาพิษเฉียบพลันของสารสกัดด้วยเอธานอ ลของลำต้นบอระเพ็ด โดยให้ทางปากแก่หนูถีบจักรพบว่าเมื่อให้สารสกัดในขนาด 4g ต่อน้ำหนักหนู 1 kg. (g./kg.) หรือเทียบเท่ากับลำต้นแห้ง 28.95 g./kg. ไม่ทำให้เกิดอาการพิษ

- การทดสอบความเป็นพิษเรื้อรัง จากการศึกษาพิษเรื้อรังของสารสกัดด้วยเอธานอลโดยการกรอกสารสกัดของบอระเพ็ด ขนาดต่าง ๆ แก่หนูขาว ติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือน พบว่า สารสกัดในขนาด 0.02 g/น้ำหนักหนู 1 kg./day (g./kg./day) ซึ่งเทียบเท่ากับขนาดที่ใช้ในคนไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตหรือการกินอาหารของ หนู และไม่ทำให้เกิดความผิดปกติของค่าทางโลหิตวิทยาหรือค่าทางชีวเคมีของซีรั่ม รวมทั้งไม่ทำให้เกิดพยาธิสภาพของอวัยวะภายในต่าง ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมแต่หนูที่ได้รับสารสกัดในขนาด1.28 g./kg./day หรือ 64 เท่าของขนาดที่ใช้ในคนมีอัตราการเกิด bile duct proliferationและ focal liver cell hyperplasia รวมทั้งมีค่าของเอนไซม์ alkaline hosphatase และ alanine aminotransferase และ ค่าครีอะตินินสูงกว่ากลุ่มควบคุมแสดงให้เห็นว่าสารสกัดบอระเพ็ดในขนาดต่ำ เช่น ขนาดที่ใช้ในคนไม่ทำให้เกิดความผิดปกติใด ๆ ในสัตว์ทดลองแต่ในขนาดที่สูงอาจทำให้เกิดความผิดปกติของการทำงานของตับและไตได้

วิธีการใช้ตามภูมิปัญญาไทย

1. ใช้เถาบอระเพ็ดหั่นตากแห้ง แล้วบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกกลอนกินก่อนนอน วันละ 2-4 เม็ด ใช้เป็นยาอายุวัฒนะใช้เถาสดดองเหล้าความแรง 1 ใน 10 รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชาของยาที่เตรียม
2. กินบอระเพ็ดสดวันละ 2 องคุลีทุกวัน เป็นยาขมช่วยให้เจริญอาหาร และป้องกันไข้มาเลเรีย
3. เป็นยาขมแก้ไข้ นำเถาบอระเพ็ดมาตากแห้งบดเป็นผงปั้นเป็นลูกกลอนกินวันละ 3 เวลาก่อนอาหารถ้าบรรจุแคปซูล กินวันละ 2-3 เวลา หรือใช้เถาสดยาว 2-3 คืบ (30-40 กรัม) ใส่น้ำท่วมยานำไปต้มแล้วดื่มหรือต้มเคี่ยวกับน้ำ 3 ส่วน ต้มจนเหลือ 1 ส่วน ดื่มก่อนอาหาร วันละ 2-3 ครั้งเมื่อมีไข้ (ยุวดี จอมพิทักษ์, 2532)
4. ใช้เถาหรือต้นสดครั้งละ 2 คืบครึ่ง (30-40 กรัม) ตำแล้วคั้นเอาน้ำดื่ม หรือต้มกับน้ำโดยใช้น้ำ 3 ส่วน ต้มเคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มก่อนเวลาช่วยลดไข้
5. ใช้รากและเถา ตำผสมมะขามเปียกและเกลือหรือดองเหล้ารับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา แก้ไขลดความร้อน (ยุวดี จอมพิทักษ์, 2532)
6. ใช้เถาที่โตเต็มที่ตากแห้งแล้วบดเป็นผงใช้ผงครั้งละ 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อนดื่ม วันละ 2 เวลา เช้า-เย็น หรือใส่ในแคปซูลเพื่อให้สะดวกในการใช้ ใช้รักษาโรคเบาหวาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น